Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9214
Title: ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Key success factors of bakery business entrepreneurs in Bangkok Metropolis
Authors: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
นันทนา บุญเฮง, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: Key success factors of bakery business entrepreneurs in Bangkok Metropolis
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ประกอบการ--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ความสำเร็จทางธุรกิจ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปังจัยส่วนบุคคลและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เสนอแนะแนวทางการคำเนินการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่ในเขตกรุงเทพมหานครการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จำนวน 153 ราย จึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาคำความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าทีและสถิติทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ความสำเร็งของผู้ประกอบการ ธุรกิจเบเกอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาราขค้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านประสิทธิภาพค้านต้นทุน ด้านทรัพยากรทางกายภาพ ด้านสถานภาพทางการตลาด ด้านทรัพยากรทางการเงิน ด้านคุณภาพ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านนวัตกรรม ด้านการทำกำไรและด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (2) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กัน 1 ด้าน ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ คือ ด้านประสบการณ์ของผู้ประกอบการ และปัจจัยในการดำเนินธุรกิจมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเบเกอรี่อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านการดำเนินการและเทคโนโลยี และด้านการเงิน (3) ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการด้วยตัวเองและ ใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริ โภค มีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในกระบวนการผลิตและต้องดูแลสถานภาพทางการเงินให้มั่นคงและน่าเชื่อถือ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9214
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124063.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons