Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9223
Title: | ปัญหาผลของการใช้กฎหมายล้างมลทิน |
Other Titles: | Problem on the application of the Rehabilitation Law |
Authors: | พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล เชาวรัตน์ โชติรัตน์, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและวัตถุประสงค์ของการล้างมลทิน (2) ศึกษาวิธีการและหลักเกณฑ์ในการล้างมลทิน และผลจากการล้างมลทินของประเทศไทยและต่างประเทศ และ (3) แสวงหาแนวทางและเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร จากตำรา หนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ บทความวารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) กฎหมายล้างมลทินมีเจตนารมณ์เพื่อการลบล้างการกระทำความผิดและคืนสิทธิให้แก่ผู้กระทำความผิด โดยมีแนวคิดมาจากหลักการให้ความกรุณาแก่ผู้กระทำความผิด แม้กฎหมายล้างมลทินของประเทศไทยกับต่างประเทศมีแนวคิดอย่างเดียวกัน แต่เหตุผลประกอบการล้างมลทินมีความแตกต่างกัน (2) หลักเกณฑ์สำคัญในการล้างมลทินของประเทศไทยและต่างประเทศ คือ ระยะเวลา ซึ่งประเทศไทยใช้ระยะเวลาในการกำหนดว่าความผิดที่อยู่ในข่ายได้รับการล้างมลทินนั้นต้องเกิดในช่วงเวลานั้น แต่ต่างประเทศใช้ระยะเวลาเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์การแก้ไขปรับปรุงตัวของผู้กระทำผิด ส่วนผลของการล้างมลทินตามกฎหมายของประเทศไทยถือว่าผู้กระทำความผิดที่ได้รับการล้างมลทินได้รับการลบล้างเฉพาะโทษ แต่พฤติกรรมในการกระทำความผิดยังคงอยู่ แต่ตามกฎหมายของต่างประเทศมีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดและโทษให้แก่ผู้กระทำผิด และ (3) เห็นควรบัญญัติกฎหมายล้างมลทินให้มีลักษณะเป็นกฎหมายกลาง โดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการล้างมลทินให้มีความชัดเจนเพื่อเป็นกระบวนการกลั่นกรองคัดแยกเฉพาะผู้ที่มีความสำนึกผิดและประพฤติดีภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด อันจะเป็นหลักประกันให้กับสังคมได้ว่าผู้ที่เคยกระทำความผิดที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายล้างมลทินเป็นผู้ที่สมควรได้รับการล้างมลทินอย่างแท้จริง รวมทั้งควรบัญญัติผลของการล้างมลทินให้ชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายล้างมลทิน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9223 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_164452.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License