Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9256
Title: การสื่อสารในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำข้าวเม่าของประชาชน บ้านดาหลำ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
Other Titles: Communication for preserving shredded Thai-style instant rice culture by Ban Da Lam Peoples, Khao Khao Sub-district, La-ngu District, Satun Province
Authors: กานต์ บุญศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุไหล โพธิ์ดก, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
การสื่อสาร
ข้าวเม่า
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทําข้าวเม่าของประชาชนบ้านดาหลํา ตําบลเขาขาว อําเภอละงู จังหวัดสตูลเกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสารและ 2) กลยุทธ์การสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสารที่เป็นผู้นําทางความคิดและเป็นผู้เริ่มต้นวัฒนธรรมการทําข้าวเม่าในหมู่บ้านดาหลําคือ นายม่าหาญ โพธิ์ดก และสมาชิกในครอบครัวนายม่าหาญโพธิ์ดกและได้ขยายวัฒนธรรมการทําข้าวเม่าไปยังกลุ่มผู้ส่งสารที่เป็นแกนนําที่เป็นเครือข่ายญาติพี่น้องใกล้ชิดผู้นําชุมชน ผู้นําศาสนาคณะครูและนักเรียน และชาวบ้านในชุมชนบ้านดาหลํา ซึ่งผู้ส่งสารมีความรู้ความเข้าใจในการสืบทอดวัฒนธรรมการทําข้าวเม่าเป็นอย่างดี (2) เนื้อหาสาร คือ วัฒนธรรมข้าวเม่า ความเป็นมาสภาพแวดล้อม วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชุมชนบ้านดาหลํา และกิจกรรมทําเม่ารวมญาติสืบสารการอนุรักษ์วัฒนธรรมเพิ่มความสัมพันธ์ให้พี่น้องรักกันเหมือนในอดีต (3) ใช้สื่อเสียงตามสาย หอกระจายข่าว การประชุมการอบรม บอร์ดประชาสัมพันธ์แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ วิทยุชุมชน โทรทัศน์ เว็บไซต์เฟซบุ๊กและไลน์กลุ่ม (4) กลุ่มผู้รับสารเป็นผู้มาร่วมกิจกรรมการทําข้าวเม่า ประธานจัดกิจกรรมซึ่งเป็นผู้วาราชการจังหวัด นักวิชาการด้านวัฒนธรรม สื่อมวลชน ผู้นําท้องถิ่น นักปกครองท้องที่ ผู้นําชุมชนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (5) ผลการสื่อสารที่คาดหวัง คือความรักความสามัคคีกนในชุมชนโดยใช้กิจกรรมการทําข้าวเม่าเป็นสื่อ มีการจัดกิจกรรมรวมญาติได้สําเร็จ และทําให้มีการจัดกิจกรรมอยางต่อเนื่องเป็นประเพณีทุกปี 2) กลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์เครือข่ายที่ทําให้เกิดพลังจากการรวมกลุ่มเครือข่ายเครือข่ายญาติใกล้ชิด เครือข่ายเพื่อนสนิท เครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชน และเครือข่ายชาวบ้านชุมชนบ้านดาหลํา (2) กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นสําคัญ โดยมีการแบ่งหน้าที่ตามความถนัดในการผลิตสื่อและการเผยแพร่ (3) กลยุทธ์สร้างความสมัครใจ ซึ่งมีการใช้การสื่อสารขอความร่วมมือจากสมาชิกของคนในชุมชนด้วยความสมัครใจโดยใช้วิธีการสื่อสารไปยังสมาชิกในชุมชนให้เห็นประโยชน์ร่วมกันและ (4) กลยุทธ์การสื่อสารสองทาง โดยคณะกรรมการผู้จัดกิจกรรมมีการประชุมร่วมกับที่ปรึกษา หารือเพื่อวางแผนการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทําข้าวเม่า โดยมีการปรึกษาหารือกันอย่างอิสระเสรี เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกนในการจัดกิจกรรม ส่วนผู้ส่งสารในการสื่อสารกลุ่มใหญ่ผู้นําท้องถิ่น ผู้นําชุมชน จะเป็นผู้สื่อสารในการประสานหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทําข้าวเม่า
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9256
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168519.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons