Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9273
Title: คุณภาพการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Service quality of Laemphakbia Local Government Organization, Amphur Ban Laem, Phetchaburi Province
Authors: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พจมาน พูลกิจ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
บริการลูกค้า
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษาระดับคุณภาพการบริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย ใน 10 ด้าน คือ การเข้าถึงบริการ การติดต่อสื่อสาร ความสามารถ ความมี ไมตริจิต ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ ความกระตือรือร้น ความปลอดภัย ลักษณะของการบริการ การเข้าใจ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการกับคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (3) ช้อเสนอแนะ ในด้านคุณภาพการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิขัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้ที่มาใช้บริการ องค์การบริหาร ส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย จำนวน 515 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิชัย คือ ประชาชนที่มาติดต่อใช้ บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา หาคำความถี่ คำร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือแบบทดสอบไคสแควร์ ผลการวิชัยพบว่า (1) คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลม ผักเบี้ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเข้าถึงบริการ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านความสามารถ ด้านความมีไมตรีจิต ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความกระตือรือร้น ด้านความปลอดภัย ด้านลักษณะของการบริการ และด้านการเข้าใจ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการกับคุณภาพการให้บริการ โดยภาพรวมพบว่าพบว่าปัจจัยด้านอาชีพและรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศ อายุ และระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์ กับระดับ คุณภาพการบริการ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านคุณภาพการบริการ ประชาชนต้องการให้ เจ้าหน้าที่พบปะ เยี่ยมเยียน เพื่อรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลให้เกิดความชันเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9273
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_123609.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons