Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9297
Title: การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องไตรยางค์และการผันตัวอักษร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในกลุ่มสถานศึกษาที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
Other Titles: Development of a computer assisted instruction program in the Thai language learning area on the topic of Triyang and Kan Phan Akson for Prathom Suksa III students of the Sixth School Cluster under Kalasin Primary education service Area Office 3
Authors: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรสวรรค์ การไรนอก, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--กาฬสินธุ์
ภาษาไทย--การออกเสียง--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์และการผันอักษร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ของโรงเรียนในกลุ่มสถานศึกษาที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธ์ เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ (3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในกลุ่มสถานศึกษาที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องไตรยางศ์และการผันอักษร (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและ แบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์และการผันอักษร มีประสิทธิภาพ 80.08/80.33 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์และการผันอักษร มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9297
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145734.pdf25.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons