Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9379
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | สลักจิต จันทร์ปล้อง, 2525- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-02T07:33:03Z | - |
dc.date.available | 2023-09-02T07:33:03Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9379 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภูมิสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย 2) ศึกษากระบวนการผลิตของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย 3) ประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และ 4) พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย ตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพภูมิสังคมและเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศอยู่ในเขตป่าสงวนทั้งหมด เป็นที่ราบ เหมาะแก่การเพาะปลูก สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.5 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีรายได้จากการขายผัก มีแหล่งเงินทุนของตนเอง มีพื้นที่ปลูกผัก เฉลี่ย 0.9 ไร่ มีแหล่งนํ้าของตนเอง การจำหน่ายผลผลิตในชุมชน 2) กระบวนการผลิต มีการเตรียมพันธุ์ ผักที่เกษตรกรปลูกมากที่สุด ได้แก่ คะน้า ผักชี กระเพรา ผักบุ้งจีน โหระพา กวางตุ้ง ตะไคร้ ผักกาดขาว พริก มะเขือเปราะ และแมงลัก ส่วนใหญ่ปลูกภายนอกโรงเรือน มีการเตรียมดินก่อนปลูก โดยใช้เมล็ดโรยเป็นแถว ให้นํ้าทางผิวดิน ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดิน ใส่ปุ๋ยตามประสบการณ์ ปุ๋ยส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยคอก หากพบโรคและแมลงศัตรูพืช กำจัดด้วยการถอนทิ้งออกนอกแปลง กำจัดวัชพืชด้วยการถอนหรือถางทิ้ง ดัชนีชี้วัดบ่งบอกอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีและขนาด ใช้มีดในการเก็บเกี่ยว หลังการเก็บเกี่ยวมีการทำความสะอาด ตัดแต่ง และคัดเลือกขนาด 3) ผลการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม สิ่งที่เกษตรกรปฏิบัติได้ระดับน้อย ได้แก่ ด้านการแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง ปฏิบัติได้ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการบันทึกข้อมูลการผลิต ด้านการทวนสอบ และด้านการจัดการศัตรูพืช และปฏิบัติได้ระดับมาก ได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านการวางแผนการจัดการ ด้านการเลือกพันธุ์/เมล็ดพันธุ์ด้านการจัดการและการปรับปรุงดิน ด้านการเก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และด้านการบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่ง 4) แนวทาง การขับเคลื่อนให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ (1) ภาครัฐให้ความรู้เรื่องหลักการปฏิบัติ และติดตามการดำเนินตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วมแก่เกษตรกรทุกมิติอย่างต่อเนื่อง (2) การปฏิบัติตามมาตรฐานข้อกำหนดให้อยู่ในเกณฑ์และสร้างความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างเกษตรปลอดภัยกับเกษตรอินทรีย์ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค (3) สร้างความรู้ให้เกิดความตระหนักถึงโทษในการใช้สารเคมี และสร้างความเข้าใจในการผลิตพืชผักอินทรีย์ (4) สนับสนุนเกษตรกรที่มีความพร้อมด้านการผลิตและการขอใบรับรองตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (5) เพิ่มช่องทางสร้างการรับรู้ให้หลากหลายและรวดเร็วเรื่องหลักการเกษตรอินทรีย์ และหลักการรับรอง PGS แก่เกษตรกร (6) ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในด้านแผนงาน งบประมาณการส่งเสริมพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ให้ต่อเนื่องและยั่งยืน (7) ส่งเสริมและเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | เกษตรอินทรีย์--ไทย--มาตรฐานการผลิต. | th_TH |
dc.subject | ผักอินทรีย์--การผลิต | th_TH |
dc.subject | กลุ่มเกษตรกร--ไทย--ลพบุรี | th_TH |
dc.title | แนวทางขับเคลื่อนการเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย ตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Guidelines for driving towards participatory organic guarantee system of safety vegetable production farming group in Nong Phak Waen Sub-district, Tha Inane District. Lon Buri Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1) to study the socio-economic status of farmers in the safe vegetable growers group in Nong Phak Wan Subdistrict, Tha Luang District, Lopburi Province, 2) to study the production process of the farmers in the safe vegetable growers group, 3) to assess the farmers’ conformity to the participatory organic farming standards, and 4) to develop guidelines for driving farmers in the group to get certified for participatory organic agriculture standards. This research used mixed methods as follows: 1) the population for quantitative research was a group of safe vegetable farmers in Nong Phak Wan Sub-district, Tha Luang District, Lop Buri Province, in 2022. A total of 24 cases were collected by questioning and assessment. The statistics used were frequency, percentage, range, mean and standard deviation. 2) Qualitative research- the group of informants was the chairman, group members and 29 persons from related agencies. Data were collected by group meetings and secondary recording. Data were analyzed by analyzing strengths, weaknesses, opportunities and obstacles to be used as a guideline to drive participation in organic agriculture standards. The results of the research showed that 1) The topography was all in the forest reserve area, which was a plain and suitable for cultivation. The climate was monsoon with 3 seasons. Most of the farmers were male, average age 55.5 years, graduated from upper primary school, held no social position, major source of income from the sale of vegetables, had their own source of funds, had an average vegetable growing area of 0.9 rai (1,440m2) and the land had its own water source. Distribution of produce was in the community. 2) The production process started with preparing growing material. Vegetables that farmers grew the most were kale, coriander, basil, Chinese morning glory, Cantonese basil, lemongrass, Chinese cabbage, chili, eggplant, and Lemon basil. Most were grown outside the greenhouses. The soil was prepared before planting. Seeds were sprinkled in rows and watered by surface irrigation. Farmers did not use soil analysis. Fertilization was done according to experience. The main fertilizer was manure. If diseases and pests were found they were eliminated manually. Weeds were removed by plucking or mowing. The harvest index was judged by observing changes in color and size. A knife was used to harvest. After harvesting, cleaning, trimming and size selection were carried out. 3) The results of assessment of conformity to participatory organic agricultural standards showed that requirements that the farmers were complying with to only a low extent included labeling and claims. The standards they were practicing to a moderate extent were production data recording, verification and pest management. Those that were implemented at a high level were production area management, production planning, selection of varieties/seeds, soil management and soil improvement, harvest and postharvest management and packaging, storage and transportation. 4) Guidelines for driving farmers to enter participatory organic agriculture standards include: (1) the government sector should provide knowledge on practical principles and follow up on the implementation of organic farming guidelines by continually engaging with farmers in all dimensions; (2) standards should be implemented to ensure that they are within the criteria and the relevant personnel should create an understanding of the differences between safe agriculture and organic agriculture for both farmers and consumers; they should build awareness of the harmful effects of chemicals and create an understanding of organic vegetable production; (4) related agencies should support farmers who are committed and ready to produce according to the requirements of the PGS standard and ready to request PGS certification; (5) communication channels should be increased, sped up and made more diverse to create awareness about the principles of organic agriculture and PGS certification principles for farmers; (6) cooperation and integration between government and private agencies in the field of work plans should be promoted with a budget for promoting the development of organic agriculture with participation in the area to be continuous and sustainable; and (7) networks of farmers, producers and consumers of organic agricultural products in the area should be promoted and connected. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License