Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชฏาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวรมัญชรี พัชนาเดชานนท์, 2523-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-09-08T08:35:48Z-
dc.date.available2023-09-08T08:35:48Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9418-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงาน 2) ศึกษาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน 3) เป็นแนวทางการตัดสินใจเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ กลุ่มพลังงานการศึกษาหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงานในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกหลักทรัพย์จำนวน 7 หลักทรัพย์ ได้แก่หลักทรัพย์บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด มหาชน (EGCOMP), บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด มหาชน (RATCH), บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด มหาชน (BCP), บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน (PTTEP), บริษัทปตท. จำกัด มหาชน (PTT), บริษัทบ้านปู จำกัด มหาชน (BANPU) และบริษัทลานนาลิกไนต์จำกัด มหาชน (LANNA) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนใช้แทนหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ส่วนที่สองเป็นข้อมูลราคาปิดของตลาดหลักทรัพย์ และราคาปิดของหลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน ผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา โดยใช้แบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์เป็นเครื่องมือในการศึกษาอัตราผลตอบแทน และค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน ผลจากการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงหรือค่าสัมประสิทธิ์เบต้า (B) ของหลักทรัพย์กลุ่ม พลังงานที่ทำการศึกษาแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ หลักทรัพย์ PTT BANPU LANNA และ PTTEP เป็นหลักทรัพย์ที่มีค่าความเสี่ยงหรือ ค่าสัมประสิทธิ์เบต้า มากกว่า 1 แสดงว่าเป็นหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์มากกว่าการเปลี่ยนแปลง อัตราผลตอบแทนของตลาด ส่วน กลุ่มที่สองคือหลักทรัพย์ RATCH และ EGCOMP เป็นหลักทรัพย์ ที่มีค่าความเสี่ยงหรือค่าสัมประสิทธิ์เบต้า (B) น้อยกว่า 1 แสดงว่าเป็นหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน่ของหลักทรัพย์น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนของตลาด เมื่อนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบกับเส้นตลาดหลักทรัพย์ (Security market line : SML) พบว่า หลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงานจำนวน 7 หลักทรัพย์อยู่เหนือเส้นตลาดหลักทรัพย์แสดงว่า หลักทรัพย์มี ราคาตํ่ากว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น (Under value) ในอนาคตราคาหลักทรัพย์อาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนควรลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้ก่อนที่ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์th_TH
dc.subjectพลังงาน--อัตราผลตอบแทนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาth_TH
dc.titleการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139437.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons