Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัลยานี ภาคอัต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจีรกานต์ วรธรรมเนียม, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-13T07:47:14Z-
dc.date.available2023-09-13T07:47:14Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9469-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายเงินปันผลและความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (2) วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่อความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากประชากร คือ บริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในกลุ่มบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีข้อมูลครบถ้วนและเป็นไปตามเงื่อนไขของการศึกษาจำนวน 28 บริษัท รวม 140 ข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ข้อมูลที่ศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทางการเงินและราคาปิดรายปีของบริษัทจดทะเบียนสาหรับระยะเวลาเดียวกัน วิธีการที่ใช้ในการศึกษาคือ สมการถดถอยแบบแรนดอม เอฟเฟก สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าสถิติที ผลการศึกษาพบว่า (1) บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการทุกบริษัทกำหนดนโยบายเงินปันผลโดยบริษัทจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเฉลี่ยหุ้นละ 0.37 บาท เงินปันผลต่อหุ้นสูงสุด 1.58 บาท ในขณะที่ค่าต่ำสุดคือ 0.01 บาท อัตราการจ่ายเงินปันผลมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.66 ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดเท่ากับอัตราร้อยละ 2.55 และ 0.01 ตามลำดับ และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลมีค่าเฉลี่ยประมาณอัตราร้อยละ 2.72 ค่าสูงสุดเท่ากับร้อยละ 9.84 และค่าต่ำสุดเท่ากับร้อยละ 0.21 สำหรับความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ มีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.27 ค่าสูงสุดและต่ำสุดเท่ากับ 1.69 และ 0.01 ตามลำดับ และ (2) นโยบายเงินปันผลซึ่งวัดโดยอัตราการจ่ายเงินปันผล และเงินปันผลต่อหุ้น ส่งผลกระทบทางลบต่อความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.10 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยอื่นได้แก่ ขนาดของกิจการ อัตราแลกเปลี่ยน และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่งผลกระทบทางลบต่อความผันผวนของราคาหลักทรัพย์เช่นกัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเงินปันผลth_TH
dc.subjectการบัญชีกับความผันผวนของราคาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การจัดการธุรกิจและการบริการth_TH
dc.titleผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่อความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe impact of dividend policy on stock prices volatility of listed companies in the services industry in the Stock Exchange of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการธุรกิจและการบริการ)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study aimed (1) to study the dividend policy and the stock prices volatility of listed companies in the Stock Exchange of Thailand; and (2) to analyze the impact of dividend policy on stock prices volatility of listed companies in the services industry in the Stock Exchange of Thailand. This study was a quantitative research. The population was all listed companies in the services industry in the Stock Exchange of Thailand with complete data and in accordance with the conditions of the study, totally 28 companies, summed at 140 data set. The period of study was 5 years from January 1st, 2017 until December 31st, 2021. The data of this study was secondary data comprising of financial information and yearly closing price of listed companies in the same period. The methodology used was random effects regression. The statistics employed in the study were mean, standard deviation, maximum, minimum, and t-statistic. The results revealed that (1) all listed companies the services industry formulated dividend policy. The company paid an average of 0.37 baht per share, the maximum dividend per share was 1.58 baht, while the minimum value was 0.01 baht. An average of dividend payout was at approximately 0.66 percent, the maximum and minimum value were at 2.55 and 0.01 percent, respectively. An average of dividend yield was approximately 2.72 percent, the maximum value was at 9.84 percent, and the minimum value was at 0.21 percent. For the stock prices volatility, its mean was approximately at 0.27, the maximum and minimum were at 1.69 and 0.01, respectively; and (2) the dividend policy that was measured by the dividend payout ratio and dividend per share had negatively impact on the stock prices volatility of listed companies at statistically significance at 0.05 and 0.10, respectively. Other factors such as firm size, exchange rate and Gross Domestic Product showed negative impact towards the stock prices volatility as well. Whereas, the return on equity showed positive impact at statistically significance at the 0.05 levelen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons