Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกฤษณะ จันทะนรารักษ์, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T07:47:39Z-
dc.date.available2023-09-14T07:47:39Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9517-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 3) ความรู้และความต้องการในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการส่งออกของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการส่งออกของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตราด ปี 2563 จำนวนทั้งสิ้น 152 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 11 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.50 ปี จำนวนแรงงานภายในครัวเรือนเฉลี่ย 3.57 คน มีประสบการณ์การปลูกทุเรียนเฉลี่ย 9.23 ปี ขายทุเรียนได้เฉลี่ย 115.72 บาทต่อกิโลกรัม เข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนเฉลี่ย 3.35 ปี 2) สภาพการผลิตทุเรียน พบว่า มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 21.32 ไร่ จำนวนต้นทุเรียนเฉลี่ย 454.22 ต้น มีรูปแบบการปลูกเชิงเดี่ยว เกษตรกรเลือกปลูกพันธุ์หมอนทองเนื่องจากตลาดส่งออกต้องการมีการให้น้ำ 150 ลิตร/วัน ทำระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ และทำทางระบายน้ำ การพ่นยา/ฮอร์โมนเฉลี่ย 4.41 ครั้ง มีการกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 277 ครั้ง เลือกใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 + 16-16-16+ปุ๋ยคอก โดยส่วนใหญ่มีการตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ และมีการโยงกิ่งให้มั่นคง มีรูปแบบการจำหน่ายทุเรียนแบบเหมาสวน ได้รับราคาเฉลี่ยเท่ากับ 115.72 บาท 3) ความรู้และความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีมีความรู้ระดับปานกลาง ความต้องการ พบว่า ด้านผู้ให้การส่งเสริมเกษตรกรมีความต้องการระดับมากที่สุด ในประเด็นนักวิชาการจากภาครัฐมาให้การส่งเสริมการผลิตทุเรียน ด้านเนื้อหาพบว่ามีความต้องการระดับมากที่สุด ในประเด็นความรู้เกี่ยวกับปริมาณสารพิษตกค้างและด้านรูปแบบและช่องทางการส่งเสริมเกษตรกรมีความต้องการระดับมากที่สุด ในประเด็นการลงพื้นที่ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ 4) ปัญหาในการส่งเสริม พบว่า ด้านการส่งเสริมมาตรฐาน มีปัญหาระดับมากที่สุดในประเด็นขาดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออก ด้านการส่งเสริมผลิตทุเรียนมีปัญหาระดับมากที่สุด ในประเด็นทุเรียนไม่ได้คุณภาพจากโรคและศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะ คือ ควรการเก็บเกี่ยวทุเรียนตามวันเวลาที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาทุเรียนอ่อน และควรมีข้อกำหนดระเบียบที่ชัดเจนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนควรให้ความรู้เรื่องการจัดการโรค และศัตรูทุเรียนเพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectทุเรียน--ไทย--ตราด--มาตรฐานการผลิตth_TH
dc.titleการผลิตและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการส่งออกของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดตราดth_TH
dc.title.alternativeDurian production and extension needs for durian production for export standard of collaborative durian farmers in Mueang Trat District, Trat Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) economic and social conditions of the farmers 2) durian production conditions of the farmers 3) knowledge and extension requirement for durian production in compliance with export standard of the farmers 4) problems and suggestions about the extension in durian production in compliance with export standard of the farmers. The population of this research was 152 durian growers who had registered as members of the collaborative durian farmer group with Mueang Trat district agricultural extension office in 2021. The sample size of 111 persons was determined by using Taro Yamane formula and simple random sampling method. Interview questions were used to collect data. Data were then analyzed by using descriptive statistics i.e. frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation and ranking. The results showed that 1) the farmers were female with the average age of 46.50 years. The average number of household labors was 3.57 persons. The average number of years of experience in durian production was 9.23 years. The average number of years that the farmers participated in collaborative durian farm group was 3.35 years. 2) Regarding the durian production conditions, it was a monoculture farming with the average durian farm size of 21.32 rais and the average number of durian trees was 454.22 trees. The farmers grew durian cultivar “Mon Thong” because of export demand. Water was supplied at 150 liters/day by using springer system and drainage channel was also done. The farmers sprayed pesticides/hormones 4.41 times on average. The average weed control was 2.77 times. The fertilizers used were the combination of 8-24-24 + 16-16-16 + manure. Deformed fruits were removed and the fruits were tied to the branches for strength. Farm products were sold in bulk on farm with the average price of 115.72 baht. 3) Knowledge and needs for extension of farmers showed that the farmers’ knowledge was at moderate level. In regards to the needs, it revealed that they wanted the agricultural extension officers to provide knowledge about durian production at highest level. The knowledge content which was required at highest level was about the chemical residue. The extension method and channel that the farmers required at highest level was on-farm workshop. 4) The most problematic about the extension was the promotion of standard, especially the lack of knowledge about durian production to meet export standards. The most problematic extension in durian production was the unqualified durian because of diseases and pests. The farmers suggested that harvest be done at an appropriate time so as to minimize the problem about immature durians. Clear immature durian regulations should be set to solve the problem about immature durian. The knowledge about durian pest management should be provided to help reduce the use of agricultural chemical substancesen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons