Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรัชดาภรณ์ โพธิ์พาด, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T08:42:29Z-
dc.date.available2023-09-14T08:42:29Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9522-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ปี 2560 จํานวน 20 ราย กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของ ทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 134 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนที่กําหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 55.2 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 47.63 ปี ร้อยละ 39.0 จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้น ร้อยละ 53.0 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.77 คน แรงงานเกษตรเฉลี่ย 3.46 คน การฝึกอบรมการผลิตผักเฉลี่ย 15 ครั้งต่อปี ประสบการณ์ผลิตผักเฉลี่ย 5.99 ปี ร้อยละ 30.3 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 17.22 ไร่ ร้อยละ 86.6 ถือครองที่ดินของตนเอง รายได้การทําการเกษตรเฉลี่ย 47,982.09 บาทต่อปี ต้นทุนผลิตผักเฉลี่ย 4,571.49 บาทต่อปี รายได้จากการผลิตผักเฉลี่ย 16,338.81 บาทต่อปี ร้อยละ 42.2 แหล่งเงินทุนของตนเอง 2) เกษตรกรตัดสินใจผลิตผักปลอดภัยเพราะเจ้าหน้าที่ส่งเสริม พื้นที่ปลูกผัก 7.66 ไร่ส่วนใหญ่ปลูกกะเพราปลูก 1 รอบต่อปี ช่วงเดือน สิงหาคม กันยายน จําหน่ายแบบผักสด โดยจําหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรง เกษตรกรมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ระดับน้อย ด้านบันทึกข้อมูลและการตามสอบ 3) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมในระดับมาก ด้านการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการสร้างเครือข่ายการผลิตผัก และมีความต้องการการส่งเสริมระดับมากด้านการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล 4) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก คือ ขาดแหล่งเงินทุน และเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมในระดับมากคือ ควรมีการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและราคาถูก เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เป็นต้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผัก--ไทย--ขอนแก่น--การผลิตth_TH
dc.subjectการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่นth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for extension of safety vegetables production adhering to good agricultural practices of farmers in Khon Kaen Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) basic social and economic conditions of farmers 2) safety vegetable production conditions according to good agricultural practice of farmers 3) extension conditions and needs for extension in safety vegetable production according to good agricultural practice o f farmers 4) problems and suggestions regarding the extension of safety vegetable production towards to good agricultural practice of farmers. The population of this study was 201 vegetable production farmers who participated in the extension of agricultural product according to GAP standard to develop quality agricultural product to reach the standard in 2021. The sample size of 134 people was determined by using Taro Yamane formula and simple random sampling method through lotto picking according to the farmer’s names by predetermined proportion. Data were collected by conducting structured interview and were analyzed by using descriptive statistics such as frequency distribution, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. The results of the research found out that 1) 55.2% of farmers were female, 59.0% had the average age of 47.63 years old, 53.0% completed junior high school education, had the average member in the household of 3.77 people, had the average agricultural labor of 3.46 people. The average vegetable production training was 1.5 time/year, the average vegetable production experience was 5.99 years, 30.3% were members of agricultural group, the average land ownership, 86.6% owned their own land, the average income from agriculture was 47,982.09 Baht/year, the average vegetable production cost was 4,571.49 Baht/year, the average income from vegetable production was 16,338.81 Baht/year, and 42.2% used their own funding source. 2) Farmers decided to produce safety vegetable because of the extension officers with the vegetable production area of 7.66 Rai. Most of them grew holy basil, grew 1 round/year during August to September, and sold in the form of fresh production directly to the consumers. Farmers practiced according to good agricultural practice at the low level in the aspect of data recording and follow-up evaluation. 3) Farmers received the extension at the high level regarding the support for farmers to be able to create network in vegetable production and wanted to receive the extension at the high level in data recording and storage. 4) Farmers faced with the problem at the high level on the lack of funding. They agreed with the suggestion regarding the extension at the high level on the aspect that there should be the support in accessing quality and cheap production factor sources such as seeds and fertilizeren_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons