Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9525
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประภาสินี ฉินสกลธนาพร, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-15T01:55:34Z-
dc.date.available2023-09-15T01:55:34Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9525-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์ป่า (2) ศึกษาหลักกฎหมายไทยตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวกับการควบคุมการค้าสัตว์ป่า (3) ศึกษาถึงการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) รวมถึงหลักกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2522 (4) ศึกษาถึงปัญหาข้อบกพร่องของกฎหมายไทยในการบังคับการตามอนุสัญญาไซเตส (CITES) (5) เพื่อสังเคราะห์แนวทางองค์ความรู้ใหม่และวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามบัญชี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสารจาก พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) บทความวารสารวิทยานิพนธ์ เอกสารออนไลน์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบซึ่งเป็นส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาไซเตส (CITES) ผลของการศึกษาพบว่า (1) การควบคุมการค้าสัตว์ป่าเป็นหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสัตว์ป่าถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งในการช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศหากไม่มีการควบคุมจะทำให้ชนิดพันธุ์บางชนิดที่เป็นที่ต้องการในตลาดนั้นสูญพันธุ์ไปเนื่องจากอัตราการบริโภคของมนุษย์ที่มีสูงเกินกว่ากำลังของธรรมชาติที่จะผลิตได้และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศการฟื้นฟูและเยียวยาระบบนิเวศเมื่อสูญเสียไปแล้วทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง (2) แม้ประเทศไทยจะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาไซเตส มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 รวมถึงมีการออกกฎหมาย และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหลายครั้ง ทำให้ชนิดพันธุ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายอนุสัญญาฯ ได้รับความคุ้มครอง แต่ชนิดพันธุ์เหล่านั้นกลับไม่ได้รับความคุ้มครองภายในประเทศเท่าที่ควร โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไม่สามารถคุ้มครองการค้าสัตว์ภายในประเทศได้ทุกชนิดพันธุ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายอนุสัญญา (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าประเทศแคนาดามีกฎหมายที่เป็นกฎหมายควบคุมการค้าสัตว์ป่าทั้งการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งทําให้การบังคับการตามอนุสัญญาไซเตสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แม้อนุสัญญาไซเตสมิได้กําหนดหลักการเกี่ยวกับการค้าภายในประเทศซึ่งชนิดพันธุ์ตามบัญชีท้ายอนุสัญญาโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามมาตราของอนุสัญญาไซเตสได้กำหนดมาตรการที่ภาคีต้องถือปฏิบัติ โดยกำหนดให้รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วยเพื่อทำให้การบังคับการตามอนุสัญญาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) พบว่าประเทศไทยยังคงบัญญัติกฎหมายไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาไซเตสหลายประการ เช่น รายการชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่ไม่สอดคล้องกับไซเตส และการไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการค้าภายในประเทศไทยสำหรับสัตว์ตามบัญชีรายชื่อของไซเตส เป็นต้น (5) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าภายในประเทศให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาไซเตส และเพื่อให้การบังคับการตามอนุสัญญาไซเตสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleปัญหาการค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยภายใต้อนุสัญญา CITESth_TH
dc.title.alternativeProblems of illegal wildlife trade in Thailand under the CITES conventionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed (1) to identify the background, concepts and theories related to wildlife trade, (2) to study the principles of Thai law in accordance with Wildlife Conservation and Protection Act B.E. 2562 (2019) regarding wildlife trade controls, (3) to study the wildlife trade controls in compliance with the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES) as well as Canadian laws by comparing it with the Thai laws based on the Wildlife Conservation and Protection Act B.E. 2562 (2019), (4) to examine problems and flaws in enforcement of CITES through Thai law against illegal wildlife trade (5) to synthesize guidelines, new body of knowledge, and methods for amending Thai laws for effective implementation of CITES with respect to wildlife trade controls. conducted through the use of official documents This legal research was conducted using a quantitative approach which included a documentary research method to study official documents concerning Wildlife Conservation and Protection Act B.E. 2562 (2019), as well as Ministerial Regulations, Notifications, orders and CITES. Related information from articles, journals, theses, and online documents published both domestically and overseas was also collected and studied. The author systematically collected the data, presented them in the literature review and the research process, then through the use of analytic - synthetic methods obtained information to be used as a guideline in proposing an amendment to the laws on the wildlife trade controls in accordance with CITES implementation in Thailand. The findings revealed that (1) Controlling wildlife trade is extremely significant because wildlife is deemed one of the national resources that helps in maintaining the eco-logical balance of nature. Without effective control measures, species with high market value will be threatened with extinction. Besides, wildlife populations are in freefall around the world, driven by human overconsumption, having negative impacts on the ecosystem. Once damaged, restoration and repair of ecosystems is infamously difficult and costly; (2) Although Thailand has ratified the CITES since 1983, which included proposing new legislation and making amendments to the law several times in order for many species on the list of CITES to be protected, those species are still not protected domestically as they should be. Wildlife Conservation and Protection Act B.E. 2562 (2019) apparently cannot protect all of the species listed under the CITES; (3) The comparative study conducted indicated that in Canada, the Convention is implemented through the Wild Animal and Plant Protection and Regulation of International and Interprovincial Trade Act, resulting in more effective enforcement. Although CITES has no specific principles regarding domestic trade on species list, Article VIII of the Convention mentions the enforcement of CITES at the national level, requiring each participating state to implement the provisions of the Convention through their domestic legislation as well as to take appropriate measures to comply with the implementation; 4) It was found that Thailand still enacts laws which are not compatible with the Convention, such as the inconsistency between the lists of species on CITES and Thailand's list of controlled wildlife and the absence of domestic trade regulations for CITES-listed species in Thailand. (5) It is necessary that an amendment be made to Thailand’s laws concerning domestic wildlife trade to ensure that the endangered species law remains effective in implementing CITESen_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons