กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9526
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านนํ้าไทยศึกษาเฉพาะบทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งล่วงลํ้าลำนํ้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of enforcement of the maritime law in Thai waters: study only the provisions about the intrusion of waters
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาธิตา วิมลคุณารักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วงศกร นราธาวา, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
น้ำ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
สิทธิเกี่ยวกับน้ำ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับทางน้ำสาธารณะ (2) ศึกษาสิทธิในการใช้ประโยชน์ในทางน้ำสาธารณะ (3) ศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายไทยเกี่ยวกับการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ (4) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำในประเทศไทยกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศมาเลเซีย และ (5) ศึกษา วิเคราะห์และกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิชัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารจากกฏหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ หนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนคําพิพากษาศาลปกครอง คําพิพากษาศาลฎีกา ความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อีกทั้งกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน การปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในทางน้ำสาธารณะเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากขัดต่อหลักประโยชน์สาธารณะและหลักความเสมอภาค แต่บางกรณีเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งกว่ารัฐอาจยกเว้นให้ได้ (2) สิทธิในทางน้ำสาธารณะมี 2 ประเภท คือ สิทธิทั่วไปของประชาชนและสิทธิพิเศษที่กฎหมายยอมให้ได้โดยมีเงื่อนไข เช่น การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐหรือจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ (3) กฎหมายไทยเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำมีหลายฉบับซ้อนกัน และเน้นโทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืนค่อนข้างรุนแรง จึงไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากประชาชน ไม่เกิดประสิทธิผลในการบังคับใช้กฎหมาย (4) ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาเป็นไปตามคําพิพากษาของศาล คอมมอนลอว์ซึ่งสามารถเบี่ยงเบนคดีให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษได้หากกลับใจแก้ไขลื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและกฎหมายของสหรัฐอเมริกาให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินริมทางน้ำสาธารณะเป็นหลักในการสร้างสิ่งล่วงล้ำนี้เป็นสําคัญ กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและกฎหมายของประเทศมาเลเซียมีความสอดคล้องกันเป็นระบบไม่ซ้ำซ้อนกัน กฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและกฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เน้นมาตรการบังคับทางปกครองสำหรับผู้สร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายไทยที่มีหลายฉบับและเน้นโทษทางอาญา (5) สมควรยกเลิกกฎหมายบางฉบับให้คงเหลือกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยเพื่อให้มีกฎหมายเท่าที่จําเป็นตามหลักในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและควรเน้นมาตรการทางปกครองและการเบี่ยงเบนคดีอาญาเพื่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9526
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons