Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9562
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
Other Titles: Opinion on system performance appraisal of operation staff of Chulabhorn Research Institute
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เติมใจ โคตรดก, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์--พนักงาน
การประเมินผลงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของ พนักงานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครังนี คือ พนักงานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ฝ่ายวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์ ฝ่ายการจัดการและประสานงานทั่วไป ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และสำนักประธานสถาบัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานและความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ลักษณะของผู้ประเมิน และวิธีการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบที (t-test) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิชัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และการรับรู้ในเรื่องลักษณะ ของผู้ประเมินอยู่ในระดับสูง พนักงานที่มีลักษณะส่วนบุคคลในเรื่องช่วงอายุที่แตกต่างกันมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วน ลักษณะบุคคลอื่นๆ และการรับรู้ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการ ปฏิบัติงานไม,แตกต่างกัน พนักงานเห็นว่า 1) หน่วยงานควรมีคณะกรรมการกลางในการพิจารณา เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีมาตรฐานเดียวกัน และขยายช่องทางในการประเมินให้รอบ ด้านมากยิ่งขึ้น 2) หน่วยงานควรมีการนำผลการประเมินที่ได้รับไปใช้ในงานพัฒนาบุคลากร เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9562
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127272.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons