Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9608
Title: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : กรณีนักศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ รุ่นที่ 5
Other Titles: Marketing mix factors affecting the decision making to enroll in Sukhothai Thannathirat Oper University : a case of Master of Business Administration 5 School of Management
Authors: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนิดา ธนธีรนนท์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --นักศึกษา--การศึกษาต่อ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--นักศึกษา--การศึกษาต่อ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลส่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกาตัดสินใจเข้าศึกษา ต่อในหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ รุ่นที่ 5 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 190 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เป็นคำถามปลายปิดโดยใช้คำถามที่มีหลาย คำตอบให้เลือกเพียงคำตอบเดียว และคำถามแบบมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทีเทสท์ เอฟเทสท์ แอลเอสดี ไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ สรุปได้ว่าอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสม การตลาดทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันในทุกระดับของแต่ละประเด็นที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ยกเว้นเหตุผลใน การตัดสินใจศึกษาต่อด้วยเอฟเทสท์ สรุปได้ว่าอิทธิพลของประเด็นด้านการส่งเสริมการตลาดมีความแตกต่างกันตามเหตุผลในการตัดสินใจศึกษาต่อที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีแอล เอสดี พบว่ากลุ่มที่ให้เหตุผล “เป็นศิษย์เก่า” มีความเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่าง กับกลุ่มที่ให้เหตุผล “ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก”, “สามารถเข้าสอบได้ใกล้บ้าน” และ “สามารถศึกษาได้ด้วย ตนเองโดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนทุกวัน” (2) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ สรุปได้ว่า ปัจจัยส่วนประสม การตลาดทั้ง4 ด้านของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตามสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) ผลจากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยการ ทดสอบสมมติฐานด้วย ไค-สแควร์ สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านรายได้ของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับวัตลุประสงค์ในการศึกษาต่อที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9608
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
115769.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons