Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9616
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชัชฤทธิ์ ชมภูนุช, 2502-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-09-19T02:10:48Z-
dc.date.available2023-09-19T02:10:48Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9616-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตธุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการประเภทของแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (2) ศึกษาความต้องการด้านการจัดทำ และขั้นตอนการใช้แฟ้มสะสม ผลงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน (3) ศึกษาการใช้เกณฑ์การประเมินผลงานด้วยรูบริค (4) ศึกษาความต้องการด้านประโยชน์ของฺแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ต่อการเรียน การสอน (5 ) ศึกษาความต้องการด้านครูภัณฑ์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ และ (6) ศึกษาความต้องการด้าน การทำความเช้าใจเกี่ยวกับแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์กับผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขต 2 จำนวน 286 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า (1) ด้านประเภทของแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ เชิงบริหาร ครูมีความต้องการแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่องานประกันคุณภาพ เชิงวิชาการมีความต้องการแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรายวิชา และสำหรับรายบุคคล เชิงบริการมีความต้องการแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการวิชาการ และเชิงวิชาชีพมีความต้องการแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ของครู (2) ด้านการจัดทำและขั้นตอนการใช้แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียน การสอน พบว่า ครูมีความต้องการด้านขั้นกำหนดจุดประสงค์ และประเภทของแฟ้ม ผลงานเพื่อใช้สำหรับการทบทวนบทเรียน โดยการแบ่งกลุ่มระหว่างการทำกิจกรรมครูต้องการให์นักเรียนคละกันระหว่างนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยนำผลงานนักเรียนที่ได้ทำเป็นเมนูสำหรับแสดงผลงานของนักเรียนโดยเฉพาะที่หน้าหลักของเว็บไซต์รายวิชา (3) ด้านการใช้เกณฑ์การประเมินผลงานด้วยรูบริค พบว่า ครูมีความต้องการการประเมินแบบองค์รวม เพื่อฝึกให้นักเรียนหัดใช้ความคิดในการพิจารณาคุณภาพงานของตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินผลงานร่วมกับครู (4) ด้านประโยชน์ของแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ต่อการเรียนการสอน พบว่า ครูมีความต้องการใช้แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นเครื่องมือ ที่สามารถจัดเก็บได้ในสื่อที่หลากหลาย (5) ด้านครูภัณฑ์ และโปรแกรมสำเร็จรูป พบว่า ครูมีความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และโปรแกรม Microsoft Excel และ โปรแกรม Microsoft Power point และ (6) ด้านการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์กับผู้เรียน พบว่า ครูมีความต้องการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวอย่าง และสาธิตวิธีการใช้งานของเครื่องมือth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectแฟ้มผลงานทางการศึกษาth_TH
dc.titleความต้องการแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดนนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe needs for electronic portfolios of private schools in Nonthaburi Province / Needs for electronic portfolios of private schools in Nonthaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130402.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons