Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐาปนา ฉิ่นไพศาลth_TH
dc.contributor.authorธัชชัย ถนอมพงษ์, 2510-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-25T03:13:33Z-
dc.date.available2023-09-25T03:13:33Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9714en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างโรงงานสกัดนํ้ามัน ปาล์ม และประเมินความคุ้มค่าต่อการตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานสกัดนั้ามันปาล์มในจังหวัดจันทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยคือ การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมมาจากองค์กรภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์ประมวลผล และศึกษาความเป็นไปได้ใน 4 ด้าน คือ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการบริหาร และด้านการเงิน โดยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการลงทุน ทางการตลาดพบว่ามีความต้องการใช้นํ้ามันปาล์มดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นนํ้ามันไบโอดีเซล ในปี พ.ศ.2553 พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2555 เป็นจำนวน 350,000 ตัน 840,000 ตัน และ 870,000 ตัน ตามลำดับ โดยในปัจจุบันกำลังการผลิตนั้าบันปาล์มดิบทั่ว ประเทศจะมีเพียงพอสำหรับความต้องการใช้ในปี พ.ศ.2553 เท่านั้น และคาดว่าจะมีความขาดแคลนนั้ามัน ปาล์มดิบตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นไป อีกทั้งยังไม่มีคู่แข่งขันในจังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาด้านการผลิตพบว่า ต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งโรงงานประมาณ 40 ไร่ โดย โรงงานมีกำลังการผลิตสูงสุด 15 ตันผลปาล์มทะลายสดต่อชั่วโมง และสามารถผลิตนั้ามันปาล์มลิบได้ 13,464 ตันในปีแรกของการผลิต แล้วสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในปีต่อๆ ไปปีละ 5% ผลการศึกษาด้านการบริหารพบว่า โรงงานสกัดนั้ามันปาล์มมีโครงสร้างองค์กรในลักษณะ แบ่งตามหน้าที่ โดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ ฝ่ายโรงงาน และฝ่ายบริหาร โดยมีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 57 คน โดยบุคลากรส่วนใหญ่ต้องมีประสบการณ์การทำงานในโรงงานสกัดนั้ามันปาล์ม เพื่อทำให้การผลิตสินค้าได้คุณภาพตามมาตรฐาน และผลการศึกษาด้านการเงินพบว่า การลงทุนโรงงานสกัดนั้ามันปาล์มในจังหวัดจันทบุรี ต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 74,545,513 บาท โดยที่โครงการมีระยะเวลาคืนทุน 2ปี 3 เดือน กับ 18 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ อัตราคิดลด 6.375%เท่ากับ 27,725,803.81 บาทและมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 18.27% การนำผลการวิจัยไปใช้มีข้อควรระวัง คือ ในการพิจารณาความเป็นไปได้ทั้ง 4 ด้านดังกล่าว จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้และมีประสบการณ์สูงเข้ามาดำเนินงานจึงจะสามารถทำให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้ได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม--ไทย--จันทบุรี--การลงทุนth_TH
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในจังหวัดจันทบุรีth_TH
dc.title.alternativeFeasibility study for investment of Palm Oil Mill at Chanthaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127367.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons