Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9744
Title: การใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Application of good agricultural practice for mango production of farmers' groups members in Lansak District, Uthai Thani Province
Authors: พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
น พันธ์ุพินิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา ภู่ขวัญ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มะม่วง--การผลิต
เกษตรกร--ไทย--อุทัยธานี
Issue Date: 2544
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมาชิกกลุ่มเกษตรกร อำเภอลานสัก จังทวัดอุทัยธานี 4 ประการ คือ (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) การใช้เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในการผลิตมะม่วง (3) เปรียบเทียบความแตกต่างการใช้ GAP ในการผลิตมะม่วง และ (4) ศึกษาปัญหาและช้อเสนอแนะการใช้ GAP ในการผลิตมะม่วง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 49 -52 ปี มีระยะเวลาในการทำสวนมะม่วงเฉลี่ย 6- 9 ปี โดยทำสวนมะม่วงเป็นอาชีพรอง เกษตรกรชมรมผู้ผลิตมะม่วง ฯ มีพี้นที่ทำสวนมะม่วง ปริมาณผลผลิต และใช้ต้นทุนในการผลิตมากกว่าอีก 2 กลุ่ม (2) เกษตรกรกลุ่มทำสวนระบำใช้ GAP อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนเกษตรกรชมรมผู้ผลิตมะม่วงฯ และเกษตรกรกลุ่ม ปรับปรูงคุณภาพมะม่วง ฯ ใช้ GAP อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (3) เกษตรกรกลุ่มทำสวนระบำใช้ GAP ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับเกษตรกรชมรมผู้ผลิตมะม่วงฯ และเกษตรกรกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วง ฯ (4) เกษตรกร ยังขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่อง GAP ราคามะม่วงตกต่ำและกลุ่มดำเนินกิจกรรมน้อยเกินไป ดังนั้นควรให้ ความรู้เกี่ยวกับ GAP และเน้นการจัดกิจกรรมกลุ่มในการใช้ GAP พร้อมกับแก้ไขปัญหาต้านราคาผลผลิตมะม่วง ตกต่ำ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9744
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
76435.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons