Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9747
Title: | การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตส้มโอในเขตจังหวัดชัยนาท |
Other Titles: | Use of biotechnology for pomelo production in Chai Nat Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา สำเนาว์ ฤทธิ์นุช, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | ส้มโอ--การผลิต เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร--ไทย |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม การใช้ และความต้องการ ของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตส้มโอ ผลการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรพบว่า เพศของผู้ให้สัมภาษณ์มีจำนวน ใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 4976 ปี การศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับประถมคึกษา มีสมาชิกในครอบครัวโดยเฉลี่ย 2.20 คน จำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย า.20 คน พื้นที่ปลูกส้มโอเฉลี่ย 3.19 ไร่ อาชีพหลักคือการทำนา อาชีพรองคือการทำสวน มีรายได้โดยเฉลี่ย 79,257 บาทต่อครอบครัว กึ่งหนึ่งของเกษตรกรเป็นสมาชกกลุ่ม ต่างๆ ทางด้านการเกษตร ในจำนวนนี้ส่วนมากเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร สำหรับการได้รับความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีชีภาพ วิทยุ โทรทัศน์เป็นสื่อที่เกษตรกรได้รับความรู้มากที่สุด สำหรับประเด็นเนี้อหาความรู้ เกษตรกร มีความรู้ทางเทคโนโลยี ชีวภาพมากที่สุดในเรื่อง การทำนี้สกัดจากหอยเชอรี่ และมีความรู้น้อยที่สุดในเรื่อง แมลงศัตรูธรรมชาติของศัตรูส้ม ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการความรู้เชิงเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการ ผลิตส้มโอ จากทั้งหมด 11 ประเภท จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า (1) เพศและการเป็นสมาขิกกลุ่มเกษตรกร ไม่มีผลต่อความต้องการของเกษตรกรทุกประเภท (2) อายุ จำนวนแรงงานในครอบครัว และอาชีพหลักมีความ สัมพันธ์ต่อความต้องการในทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญโดยเมื่อเกษตรกรมีอายุมากขึ้นหรือจำนวนแรงงานมาก ขึ้น เกษตรกรมีความต้องการมากขึ้น และเกษตรกรทำนาและทำไร่มีความต้องการความรู้มากกว่าเกษตรกรทำสวน (3) ระดับการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องความต้องการอยู่ 6 ประเภท โดยผู้มีการ ศึกษาระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษามีความต้องการความรู้มากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. หรือ สูงกว่า (4) ขนาดพื้นที่ปลูกส้มโอมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในทางตรงกันข้ามกับความต้องการความรู้ใน การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ อยู่ 9 ประเภท กล่าวคือ เมื่อเกษตรกรมีพื้นที่ในการปลูกส้มโอมาก ความต้องการความรู้กลับน้อยลง และ (5) รายได้ของเกษตรกรมีผลต่อความต้องการความรู้อยู่ 2 ประเภทเท่านั้น จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตส้มโออย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยการรวมกลุ่มเกษตรกรในการผลิตและจำหน่าย ส้มโอปลอดสารพิษ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9747 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License