Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9838
Title: การชำระคืนเงินกู้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสมุทรสงคราม
Other Titles: Loan repayment by the clients of Bank of Agriculture and Agricultural Cooperatives in Samut Songkhram Branch
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พุทธชาด สานิเทศ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เงินกู้
การชำระเงิน
เกษตรกร--ไทย--สมุทรสงคราม
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาสมุทรสงคราม ดังนี้ (1) สภาพ ทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) การชำระคืนเงินกู้ และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการชำระคืนเงินกู้ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมีอายูเฉลี่ย 54.5 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ มาแล้วเฉลี่ย 49.6 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ย 4.2 ราย เกษตรกรเกือบหนึ่งในสามมีอาชีพหลักในการ เลี้ยงหอย เกษตรกรเกินครึ่งมีอาชีพเสริมในการรับจ้างแรงงาน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 3.3 ราย มีขนาดพื้นที่ ทำการเกษตรเฉลี่ย 9.7 ไร่ ในรอบปีบัญชี 2549 มีรายไค้เฉลี่ย 255,595.90 บาท และรายจ่ายเฉลี่ย 188,774.00 บาท เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีรายไค้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เกษตรกรเกินครึ่งใช้แหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส. และกองทุนหมู่บ้าน เกษตรกรเกือบสามในห้ามีแรงรูงใจที่ขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพราะต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า เงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 93,333.30 บาท เงินกู้เพื่อเป็นค่าลงทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 130,270.30 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับอนุมัติเงินกู้ในปีบัญชี 2549 เพียงพอกับการผลิต เกษตรกรเกือบทั้งหมด ใช้เงินกู้ถูกต้องตามวัตลุประสงค์การขอกู้ เกษตรกรมากกว่าสองในห้ามีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตร และรายได้อื่นๆ นอกภาคการเกษตร (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ชำระคืนเงินกู้จากการติดตามทวงถามของพนักงาน และแรงรูงใจสำคัญที่สุดในการชำระคืน คือ ต้องการรักษาประวัติในการชำระหนี้ เกษตรกรเกือบสองในสาม เป็นหนี้ปกติ มูลเหตุที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเนื่องจากปัจจัยการผลิตและค่าจ้างแรงงานมีราคาสูงขึ้น โรคระบาด ราคาผลผลิตตกตํ่า ต้องนำเงินไปชำระหนีแหล่งเงินทุนอื่นก่อน มีค่าใช้จ่ายจุกเฉินในครัวเรือน พนักงานพัฒนาธุรกิจและพนักงานการเงินให้บริการโดยไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส เกษตรกรเกือบหนึ่งในห้ามีปัญหา เกี่ยวกับการกู้เงินได้น้อยกว่าความต้องการขอกู้ เกษตรกรเสนอแนะให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้และลดหย่อนหลักประกัน ในการขอกู้เงิน ส่งเสริมการรวมกลุ่มในการขายผลผลิตและเพิ่มเดิมความรู้ให้กับพนักงานอย่างเหมาะสมและ ต่อเนื่อง เพื่อให้คำแนะนำในการเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมแก่เกษตรกรลูกค้า ควรให้อำนาจหัวหน้ากลุ่ม ในการกำหนดวงเงินกู้ของคนในกลุ่มและควรมีการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับรายได้ ของครัวเรือน และมีการออมเงินไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อสำรองไว้เมื่อมีค่าใช้จ่ายจุกเฉินในครัวเรือน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9838
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100817.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons