Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9843
Title: การผลิตและการตลาดหญ้านวลน้อยของเกษตรกรในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Manailagrass production and marketing by farmers in Bung Khorhai Self-Sufficient Economy Community, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมเกียรติ จันทศิลา, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
หญ้านวลน้อย--การผลิต
เกษตรกร--ไทย--ปทุมธานี
หญ้านวลน้อย--การตลาด
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ พื้นฐานของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตหญ้านวลน้อย (3) ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการตลาดหญ้า นวลน้อยของเกษตรกรและ (4) สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผู้ผลิตและการตลาดหญ้านวลน้อยของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายูเฉลี่ย 43.3 ปี จบการศึกษาชั้น ประถมเป็นจำนวนมาก สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานเกษตรกรรมเฉลี่ย 2.7 คน พื้นที่ในการปลูกหญ้า นวลน้อย โดยเฉลี่ย 11.9 ไร่ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิเฉลี่ย 6.5ไร่ พื้นที่เช่า เฉลี่ย 11.2 ไร่ อาชีพเดิมทำนาเป็น ส่วนมาก รายได้ทั้งหมดของครัวเรือนในปีก่อนการผลิตหญ้านวลน้อยในภาคเกษตร เฉลี่ย 49,896.2 บาท รายได้ นอกภาคเกษตร เฉลี่ย ต่อปี 21,849.1 บาท รวมรายจ่ายทั้งครัวเรือนในปีก่อนผลิตหญ้านวลน้อยในภาคการเกษตรเดิมเฉลี่ย 32,543.7 บาท/ปี รายจ่ายนอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 74,630.95 บาทต่อปี มีหนี้สิน เงินถู้ในระบบ เฉลี่ย 77,911.7 บาท เงินถู้นอกระบบ เฉลี่ย 61,133.3 บาท มีรายได้จากการปลูกหญ้านวลน้อยจำหน่ายเฉลี่ยปีละ 415,674.8 บาท (2) เกษตรกรมีความรู้เรื่องหญ้านวลน้อยทั้งคุณสมบัติพิเศษของหญ้านวลน้อย วิธิการปลูก การดูแลรักษา ไต้เป็นอย่างดี (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรเห็นว่ากลุ่มพ่อค้าคนกลางกดราคา ไม่อยากผูกขาดเรื่อง ราคาและอยากขายให้กับผู้ซื้อทั่วๆไป (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะด้านราคาผลิตที่เป็นจริง การรวมกลุ่มและการ ควบคุมวัชพืชด้านตลาดการควบคุมและการสร้างความแตกแยกให้แก่เกษตรกรของพ่อค้า มีข้อเสนอแนะในการจัดตั้งกลุ่มควบคุมราคากลาง และการนำทฤษฏี 4P’s และ 4C’s เข้ามาให้การศึกษาและอบรมแก่เกษตรกร (5) ผลการทดสอบ สมมติฐาน พบว่า อายุ สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงาน พื้นที่ในการปลูกหญ้านวลน้อย รายไต้ของเกษตรกร ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตและการตลาดหญ้านวลน้อย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9843
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100822.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons