Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9851
Title: สถานภาพและการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: Status and operations of the small and micro community enterprise groups in Mae Sot District, Tak Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เยาวเรศ ทิฐธรรม, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ตาก.
วิสาหกิจชุมชน--การบริหาร
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สถานภาพทาง เศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (2) สภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (3) ความคิดเห็นของสมาชิกและกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน (4) ป็ญหาในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มโดยเฉลี่ย 4.2 ปี เช้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเนื่องจากมีดวามพอใจในกิจกรรมกลุ่ม มีอาชีพหลักทำ การเกษตร และมีอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพเสริม แหล่งเงินทุนที่ใช้ส่วนมากจะตู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้าน มีรายได้ในครอบครัว มากกว่ารายจ่าย รวมทั้งในภาคเกษตรมากกว่ารายไต้นอกกาดเกษตร สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะมีรายได้ขาดการเข้าร่วม กิจกรรมกลุ่มมากกว่ารายจ่าย มีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อการทำงานของคณะกรรมการกลุ่ม ว่ามีความรับผิดชอบสูง มี คุณสมบัติของความเป็นตู้นำสูงมาก มีความอดทน แส่ควรชะสนับสนุนหรือเปิดโอกาสหรือกระตุ้นให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม ในกิจกรรมกลุ่มให้มากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการวางแผนการดำเนินงานกลุ่ม สำหรับภาครัฐและภาคเอกชนควรให้การ สนับสนุนกลุ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการ เอกสารความรู้ และ การนำกลุ่มไปศึกษาดูงาน ด้านการดำเนินงานกลุ่ม พบว่า กลุ่มขาดแคลนด้านเงินทุนหมุนเวียน วัสดุ - อุปกรณ์ การบริหารงานของคณะกรรมการ และการเอาใจใส่ในการติดตามงานของหน่วยงานต่างๆ ส่วนปัญหาพบว่า สมาชิกขาดความรับผิดชอบ และไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขาดจิตสำนึกและไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์กลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอแม่สอด แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแปรรูปอาหาร ประเภทพืช ประเภทบริการ ประเภทเครื่องดื่ม และ ประเภทสัตว์ ส่วนใหญ่มีคณะกรรมการจำนวน 6-7 คน เป็นหญิง สมาชิกกลุ่มโดยเฉลี่ย จำนวน 22 คน การจัดตั้งมักเกิดจากการส่งเสริมของหน่วยงาน ทุนประกอบการของกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นเงินสดที่ได้จากการ ออมเงินรายเดือน และการลงหุ้นของสมาชิก กลุ่มมีการดำเนินงานที่เช้มแข็ง มีทิศทางที่ขัคเชน และได้กำหนดทิศทางไว้ทุก กลุ่ม มีความรับผิดชอบต่อชุมชน ดำเนินกิจกรรมอย่างมีจริยธรรม รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กลุ่มกำหนดแผนการ ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน และชี้แจงแผนการดำเนินงานแก่สมาชิก มีการติดตามข้อมูลการจำหน่ายสินค้าและนำข้อมูลมา ปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อนำมาประยูกต์ใช้ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อนุรักษ์ และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการพัฒนาผู้นำและสมาชิก อย่างเป็นขั้นตอนทั่วถึงและสอดคล้องกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชร มีการสรัางขวัญกำลังใจ ความพึงพอใจและแรงจูงใจแก่สมาชิก จัดสวัสดิการอย่างทั่วถึง บริหารให้เกิดความเชื่อมโยงกิจกรรม วิสาหกิจชุมชนทั้งภายในและภายนอกชุมชน สำหรับด้านผลิตภัณฑ์และระบบที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มีขั้นตอนการผลิตสินค้า กระบวนการผลิต การบริการที่ชัดเจน ก่อให้เกิดสินค้าและการบริการมีคุณภาพดีสมํ่าเสมอ ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของ กลุ่ม คือคณะกรรมการไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของกลุ่ม และไม่ได้เข้ามีส่วนร่วมในการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม กลุ่มขาดแคลนเงินทุน วัสคุ-อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม และ ขาดการแนะนำและเอาใจใส่จากหน่วยงานต่างๆ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9851
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100891.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons