Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9864
Title: | การมีส่วนร่วมในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนของเกษตรกร จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Participation in the Community Rice Center Project of the in farmers in Samut Prakan Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา ยงยุทธ บัวโต, 2497- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--สมุทรปราการ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของ เกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน (2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการฯ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในโครงการฯ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.22 ปื จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.38 คน เกษตรกรส่วนใหญ่กู้เงินจากศูนย์ ฯ ข้าวชุมชน รองลงมาจากกองทุนหมู่บ้าน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 36.80ปี ส่วนใหญ่มีพื้นที่นาโดยการเช่า เฉลี่ย 25.80 ไร่ และพื้นที่นาของตนเองเฉลี่ย 2.16 ไร่ มีแรงงานภาค เกษตรเฉลี่ย 2.32 คน แรงงานนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 0.94 คนในปื 2549 เกษตรกรมีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 190,758.75 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 124,300.75 บาท และรายได้รวมเฉลี่ย 231,340.12 บาท ส่วน รายจ่ายภาคเกษตรเฉลี่ย 48,290.12 บาท รายจ่ายด้านบริโภคครัวเรือนเฉลี่ย 55,258.12 บาท และรายจ่ายรวม เฉลี่ย 57,423.14 บาท (2) ในภาพรวม ทั้ง 4 ชั้นตอน เกษตรกรมีส่วนร่วมในโครงการฯ ในระดับค่อนข้างมาก โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ในระดับปานกลาง ในขณะที่เกษตรกรมีส่วนร่วมรับ ผลประโยชน์จากโครงการฯในระดับค่อนข้างมาก และเกษตรกรมีส่วนร่วมตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล ในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรส่วนใหญ่รับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการฯ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเพื่อนบ้าน เกษตรกรมีการติดต่อสื่อสารในโครงการฯ เป็นครั้งคราว โดยมีการติดต่อกับเกษตรกรตำบลอย่างสมํ่าเสมอ ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและการคำเนินโครงการฯด้านต่าง ๆ จากโครงการฯ (4) เกษตรกรประมาณ 1 ใน 4 มีปัญหาด้านการคำเนินการศูนย์ฯ ได้แก่ การได้รับปัจจัยการผลิตของทางราชการล่าช้า และปัญหาการ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9864 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
101804.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License