Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9880
Title: การผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษของสมาชิกโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดตาก
Other Titles: Pesticide safety rice production by members of the pesticide safety rice production and consumption extension project in Tak Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมาน เทพารักษ์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดตาก
ข้าว--การผลิต
ข้าว--การปลูก--ไทย--ตาก
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ ของสมาชิกผู้ร่วม โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยจากสารพิษ (2) ศึกษาสภาพการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ของเกษตรกร (3) ศึกษาสภาพการได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร (4) ศึกษา ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยจาก สารพิษร้อยละ 59.7 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย47.89ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีจำนวนสมาชิกใน ครัวเรือน 4.28 คน จำนวนแรงงาน 2.5 คนต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร มีพื้นที่ทำ การเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 17.93 ไร่ และพื้นที่ทำนา เฉลี่ย 9.23 ไร่ รายไต้รวมภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 47,081.91 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 34,997.90 บาท ผลผลิตข้าวต่อไร่ก่อนร่วม โครงการเฉลี่ย 570.56 กิโลกรัม รายไต้ต่อไร่ก่อนเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 2,453.40 บาท มีประสบการณ์ในการ ผลิตข้าวที่ใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยพิษเฉลี่ย 3.46ปี พื้นที่ปลูกข้าวปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 7.2 ไร่ ปลูกข้าวช่วง เดือนสิงหาคม ส่วนใหญ่ทำนาหว่าน ใช้เมล็ดพันธุเฉลี่ยต่อไร่ 25.56 กิโลกรัม พันธุข้าวที่ปลูกมากคือชัยนาท 1 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 566.14 กิโลกรัม ราคาที่ขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมถะ 5.67 บาท ใช้ต้นทุนในการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,278.70 บาทมีรายได้จากการขายข้าวปลอดภัยจากสารพิษต่อไร่เฉลี่ย2,673.12 บาทเกษตรกรได้รับการฝึกอบรม ช่วงระหว่างการปลูกมากที่สุด โดยวิธีการบรรยายวิชาการจัดเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจัดทำแผนการผลิต ความถี่ในการ ติดตามให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่อยู่ในช่วงก่อนปลูกและช่วงแตกกอ ส่วนปัญหาด้านการผลิตส่วนใหญ่เป็น ปัญหาระดับปานกลางเช่น เรื่องแรงงาน วัชพืช เงินทุน ปุ๋ยเคมี ความรู้ในการผลิต แหล่งนํ้า เช่นเดียวกันกับ ปัญหาด้านการส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ เรื่องการตรวจรับรองผลผลิต การดำเนินงานกองทุนปัจจัยการผลิตของ โครงการ และการรับการถ่ายทอดความรู้ สำหรับข้อเสนอแนะเกษตรกรส่วนใหญ่จะขอให้ภาครัฐเข้ามาดูแล ชัดการในเรื่องระบบการตลาด ปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานเช่นระบบชลประทาน การสนับสบุนเงินทุนการผลิต การเพิ่มความถี่ในการติดตามให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมแบบรายบุคคล เป็นต้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9880
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
105535.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons