Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9881
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชารีรัตน์ ราชคม, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-03T07:46:57Z-
dc.date.available2023-10-03T07:46:57Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9881-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไม้ในชังหวัดสมุทรสาคร ดังนี้ 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ตาม หลักเกษตรดีที่เหมาะสม ของเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไม้ในจังหวัดสมุทรสาคร 3) การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค และแมลงตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP ) สำหรับกล้วยไม้ และ4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามระบบ GAP สำหรับกล้วยไม้ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 46.44 ปี มีระยะเวลาประกอบอาชีพปลูกกล้วยไม้เฉลี่ย 15.66 ปี มีแรงงานในการผลิตกล้วยไม้ เฉลี่ย 3.35 คน มีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้เฉลี่ย 8.79 ไร่ และส่วนใหญ่ปลูก กล้วยไม้ตระกูลหวาย สื่อบุคคลที่เกษตรกรทุกคนได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกล้วยไม้ปลอดภัยจากโรคแมลง คือ เพื่อนม้าน ส่วนสื่อมวลชนได้รับจากวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ แต่ได้รับในระดับน้อย สำหรับความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามระบบ GAP สำหรับกล้วยไม้ ของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก และ 2) เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคต่อไปนี้เน่าดำ ดอกสนิม เกสร ดำใบปืนเหลือง ใบขี้กลากและใบจุด รวมทั้งใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ แมลงบั่วกล้วยไม้ หนอนกระทู้ ผัก และหนอนกระทู้หอม โดยเกษตรกรที่ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ มีแนวโน้มที่จะใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้น ตามคำแนะนำและใช้ตามอัตราที่แนะนำและการใช้สารเคมีตามคำแนะนำเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช แต่ละชนิด มีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย โดยเกษตรกรทุกคน ใช้สารเคมีตามคำแนะนำเพื่อป้องกำจัดเพลี้ย ไฟและแมลงบั่วกล้วยไม้ เกษตรกรเกือบทั้งหมด ใช้สารเคมีตามคำแนะนำเพื่อป้องกำจัดโรคเน่า และเกษตรกร ส่วนใหญ่ มีการใช้สารเคมีตามคำแนะนำเพื่อป้องกำจัดหนอนกระทู้ฝักและโรคปืนเหลือง 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ ประสบปัญหาเรื่องราคาสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่จำหน่ายตามร้านล้า มีราคาสูงเกินความเป็นจริง ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า เกษตรควรรวมตัวเพื่อต่อรองราคากับบริษัทขายส่ง และเกษตรกรส่วนน้อยเสนอแนะว่า ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ควบสู่กับสารชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2006.76-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกล้วยไม้--โรคและศัตรูพืชth_TH
dc.subjectกล้วยไม้--การปลูกth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--สมุทรสาครth_TH
dc.titleการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไม้ในจังหวัดสมุทรสาครth_TH
dc.title.alternativeAn application of chemical pesticide adhering to the good agricultural practice system for orchid by Orchid Grower Groups in Samut Sakhon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2006.76-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
105536.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons