Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9887
Title: รูปแบบการจัดการเลี้ยงโคจากโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Management model for raising cattle from Royal-Development Project on Cattle and Buffalo Bank for farmers by Livestock Raising Groups in Nongsua District, Pathum Thani Province
Authors: พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพรัตน์ รุ่งสว่าง, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ
โค--การเลี้ยง
เกษตรกร--ไทย--ปทุมธานี
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจของสมาชิก กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ (2) รูปแบบการเลี้ยงโคของสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ (3) สภาพการเลี้ยงโคของสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ (4) ปัญหา / อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเลี้ยงโคของสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เลียงสัตว์มีอายุ เฉลี่ย 46.22 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4-6 สมาชิกที่มีส่วนช่วยในการเลี้ยงโค เฉลี่ย 2.60 ราย เกือบทั้งหมดไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางสังคม แต่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกับกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ อาชีพหลัก คือ ทำสวน อาชีพเสริม คือ รับจ้าง มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเองเฉลี่ย 19.29 ไร่ ซึ่งรวมกลุ่มย่อยกลุ่มละ 5 คน ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐพร้อมเลือกตัวแทนเป็นผู้เลี้ยงหลักด้วยความสมัครใจ และประมาณสองใน สาม เป็นผู้ช่วยเลี้ยงชั่วคราว และจัดหาอาหารหยาบมาให้เป็นครั้งคราว การจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูในแต่ละเดือน 4 คนที่ ไม่ได้เป็นคนเลี้ยงหลักประมาณสองในสามจ่าย 300 บาทเท่ากัน เกือบทุกคนทราบว่ามีการแบ่งผลประโยชน์ และ การรวมกลุ่ม 5 คนเหมาะสม สมาชิกทั้งหมดเห็นว่าคนเลี้ยงหลักดูแลตลอด การจัดเวร ผลตอบแทน ค่าใช้จ่าย เหมาะสมและเกือบทั้งหมดมีการจดบันทึกต่าง ๆ แม่โคเป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนการยืมแม่พันธุ์รายละ 1ตัวเห็นว่า ไม่เหมาะสม และผสมพันธุ์โดยจูงพ่อหรือแม่พันธุ์ไปผสม มีการคัดและตอนโคที่มีลักษณะไม่ดีออกจากฝูงแหล่งอาหารหยาบได้จากฟางข้าว และทุ่งหญ้าของสมาชิก มีการให้อาหารข้นเฉลี่ย 3 วัน/ครั้ง วิธีเลี้ยง คือ ปล่อยแทะเล็ม และเกี่ยวหญ้า หาฟางข้าวให้กินบางเวลา มีคอกอยู่นอกบ้านพร้อมหลังคา ถ่ายพยาธิบ้างเป็นบางครั้ง ฉีดวัคซีน ทุกๆ 6 เดือนเมื่อโคป่วยให้สัตว์แพทย์รักษาและมีความต้องการการฟิกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโค มีปัญหาที่สำคัญ คือ การได้รับแม่โคที่มีอายุน้อย ตัวเล็ก ให้ยืม 1 ราย/ 1 ตัว น้อยไปและจำนวน พ่อพันธุ์ไม่เพียงพอ สมาชิกมีความต้องการอาหารแร่ธาตุและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ แม่โคควรเป็นลูกผสมและจำนวนแม่ โค 5 ตัว/1 ราย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9887
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
109943.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons