Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10000
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Factors affecting work safety of employees : a case study of Charoen Pokphand Foods Public Company Limited, Mahachai Aqua Feed Plant
Authors: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญญา ทองศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)--พนักงาน--มาตรการความปลอดภัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน (2) เปรียบเทียบระดับ ความคิดเห็นต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยด้าน พฤติกรรมการทำงานที่มีผลต่อความปลอดภัยของพนักงาน (4) ศึกษาปัจจัยต้านสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่ มีผลต่อความปลอดภัยของพนักงาน (5) เสนอแนะแนวทางการสร้างความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) รูปแบบการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงาน ระดับต่างๆ ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จำนวน 406 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่าง 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใซัในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ เชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวส. เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ อายุงานมากกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่เคยได้รับการ'ฝืกอบรมต้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และไม่เคย เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (2) ระดับความคิดเห็นต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน เพื่อจำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล พนักงานมีอายุงานที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับความคิดเห็นต้านความปลอดภัยในการทำงานที่ แตกต่างกัน ยกเว้นเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน หน่วยงานที่ทำงาน ประวัติการฝืกอบรม ประวัติการเกิด อุบัติเหตุไม่มีความแตกต่างกัน (3) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่มีผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของ พนักงาน คือ การปฏิบัติตนของพนักงานซึ่งมีผลในระดับปานกลาง โดยพนักงานไม่ดื่มสุราก่อนเข้างานขณะ ทำงาน หรือช่วงพักกลางวันซึ่งมีผลในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่บริษัทฯมีผลในระดับมาก และไม่หยอกล้อกันระหว่างปฏิบัติงานมีผลในระดับน้อยที่สุด (4) ปัจจัยต้านสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่มี ผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน คือ กฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงานซึ่งมีผลในระดับมาก ที่สุด รองลงมา คือ เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการทำงานมีความสัมพันธ์ในระดับมาก และ สภาพแวดล้อมในการทำงานมีผลในระดับปานกลาง (5) แนวทางการสร้างความปลอดภัยในการทำงานของ พนักงาน ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้มากขึ้น และพูดคุยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10000
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140973.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons