Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพล เศรษฐบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเทอดพันธ์ ธรรมรัตนพงษ์, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-26T03:14:53Z-
dc.date.available2023-10-26T03:14:53Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10014-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก 2) วิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาการผลิตสับปะรดที่มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก 3) วิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมการผลิตสับปะรดที่มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก และ 4) สังเคราะห์และประเมินโมเดลการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก การวิจัยใช้วิธีแบบผสม จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 7 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง นำผลการสัมภาษณ์เชิงลึกมากําหนดเป็นประเด็นสัมภาษณ์เพื่อใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.03 ได้เกษตรกร จํานวน 660 คน ผู้แปรรูป จํานวน 32 คน และผู้ส่งออกสับปะรด จํานวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตร ได้จํานวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการผลิตสับปะรดคุณภาพส่งออก (X1) มาตรการสุขาภิบาลและสุขอนามัยการแปรรูปสับปะรดส่งออก (X2) ข้อกําหนดคุณภาพและเกณฑ์คลาดเคลื่อนสับปะรดส่งออก (X3) การผลิตสับปะรดปลอดภัยสําหรับการส่งออก (X4) 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาการผลิตสับปะรดได้จํานวน 3 องค์ประกอบได้แก่การพัฒนาเทคโนโลยี และการบริการส่งออกสับปะรด (X5) การพัฒนาวิธีการขายและผลิตภัณฑ์สับปะรดส่งออก (X6) การพัฒนาระบบการขนส่งและการสื่อสารเพื่อส่งออกสับปะรด (X7) และ 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมการผลิตสับปะรดได้จํานวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่การส่งเสริมการผลิตสับปะรดส่งออกตามแนวคิดชีวิตวิถีใหม่ (X8) การส่งเสริมการค้าสับปะรดระหว่างประเทศ (X9) การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (X10) การส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรมการผลิตสับปะรด (X11) และ การส่งเสริมด้านธรรมาภิบาดธุรกิจสับปะรด (X12) นำ 12 องค์ประกอบมาหาความสัมพันธ์กับความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกสามารถสร้างสมการถดถอยพหุคูณเพื่อใช้ในการพยากรณ์ คือ =0.423 +0.089X1+0.074X2+0.077X3+0.105X4+0.058X5+0.103X6 +0.067X7+0.074X8+0.100X9+0.068X10+0.075X11+0.054X12 จากสมการพยากรณ์ได้ว่า หากส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้แปรรูปและผู้ส่งออก ได้ปฏิบัติตามองค์ประกอบ ทั้ง 2 องค์ประกอบแล้ว จะส่งผลให้เกษตรกรผู้แปรรูปและผู้ส่งออก ต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.50 เมื่อนำทั้ง 12 องค์ประกอบมาสังเคราะห์เป็นโมเดลส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกสามารถกำหนดเป็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก ได้เป็นแนวทาง ได้แก่ 1) การส่งเสริมการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานส่งออก 2) การส่งเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิตสับปะรดคุณภาพ 3) การผลิตสับปะรดที่ได้มาตรฐานและพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้น 4) การส่งเสริมการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์สับปะรดส่งออก 5) การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเพื่อให้เกษตรกร ผู้แปรรูปและผู้ส่งออกต้องการผลิตสับปะรดส่งออก และ 6) การส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตเพื่อให้เกษตรกร ผู้แปรรูปและผู้ส่งออกต้องการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานส่งออก เมื่อนำโมเดลส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกมาจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนการปฏิบัติ แบ่งได้ 3 ขั้น คือ 1) ขั้นต้นเน้นการผลิตสับปะรดให้มีคุณภาพการส่งออก 2) ขั้นปรับเปลี่ยน เน้นการปรับเปลี่ยนจากการผลิตเดิมเป็นการผลิตวิถีใหม่ และ 3) ขั้นการพัฒนาเนินการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานส่งออก การประเมินประสิทธิผลโมเดล พบว่า เกษตรกร ผู้แปรรูป และผู้ส่งออก หลังนำโมเดลไปทดลองปฏิบัติตามแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกได้เพิ่มขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสับปะรด--การผลิต--ไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.subjectสับปะรด--การส่งออก--ไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.titleโมเดลการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeExtension model of pineapple production for exportation in the Northern Region of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to analyze standard factors of agricultural products affecting the needs for pineapple production for exportation 2) to analyze development factors of pineapple production affecting the needs for pineapple production for exportation 3) to analyze the extension factors of pineapple production affecting the needs for pineapple production for exportation and 4) to synthesize and evaluate the extension model of pineapple production for exportation. This research was a mixed methods research. Qualitative research was done by conducting in-depth interview with 7 key informants. The sample size was done by performing purposive sampling method. The results of the in-depth interview were brought to determine topics of the interview for quantitative research. The sample size of 660 farmers, 32 processors, and 30 exporters was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.03. Data were analyzed by using descriptive analysis and inferential analysis such as factor analysis, multiple regression analysis, one way ANOVA, and path analysis. The results of the research were 1) factor analysis of standard agricultural products found 4 factors pineapple production management for export quality (X1), sanitation and hygiene standards of pineapple processing for exportation (X2), quality specification and error criteria of export pineapple (X3), and safety pineapple production for exportation (X4). 2) There were 3 development factors of pineapple production i.e. the development of technology and exporting service of pineapple (X5), the development of sales methods and pineapple products for exportation (X6), and the development of pineapple logistics system and ctionommunication for exportation (X7), and 3) There were 5 factors of pineapple production extension: pineapple production extension for exportation according to new normal of life (X8), international pineapple trade extension (X9), group formation and information exchange extension (X10), the extension of research innovation in pineapple production (X11), and good governance extension for pineapple business (X12). 4) The relationship between the 12 factors and the needs for pineapple production for exportation were analyzed and multiple regression equation was then created, ̂ = 0.423 +0.089X1 +0.074X2+0.077X3+ 0.105X4 + 0.058X5+0.103X6+0.067X7+0.074X8+ 0.100X9 + 0.068X10+ 0.075X11 + 0.054X12.. This equation predicted that if the pineapple growers, processors and exporters adopted all of the 12 factors, they would need to produce 85.50% more pineapple for exportation. 4) The extension model of pineapple production for exportation was synthesized using the 12 factors and the 6 guidelines for extension and development of pineapple production for exportation were then prescribed, i.e. (1) pineapple production extension to meet export standard (2) the extension in order to develop the production of quality pineapple (3) pineapple production to meet the standards and production standard improvement (4) the extension in pineapple production and product development for exportation (5) the extension and production development in order that pineapple growers, processors, and exporters wanted to produce pineapple for exportation and (6) the extension and development of production standards in order that pineapple growers, processors, and exporters wanted to produce pineapples for export standard. The strategy was created using the extension model of pineapple production for exportation. Guideline for strategic-driven according to implementation plan can be divided into 3 steps: 1) the fundamental step that emphasized on pineapple production management for export quality 2) the change step which focused on the modification from conventional production to new method and 3) the development step which highlighted on the research in order to create pineapple production innovation to meet export standards. The evaluation of the model effectiveness revealed that the benefits of pineapple production for exportation were increased after the pineapple growers, processors, and exporters had implemented the modelen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168833.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons