กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10014
ชื่อเรื่อง: โมเดลการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension model of pineapple production for exportation in the Northern Region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพล เศรษฐบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เทอดพันธ์ ธรรมรัตนพงษ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
สับปะรด--การผลิต--ไทย (ภาคเหนือ)
สับปะรด--การส่งออก--ไทย (ภาคเหนือ)
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก 2) วิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาการผลิตสับปะรดที่มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก 3) วิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมการผลิตสับปะรดที่มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก และ 4) สังเคราะห์และประเมินโมเดลการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก การวิจัยใช้วิธีแบบผสม จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 7 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง นำผลการสัมภาษณ์เชิงลึกมากําหนดเป็นประเด็นสัมภาษณ์เพื่อใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.03 ได้เกษตรกร จํานวน 660 คน ผู้แปรรูป จํานวน 32 คน และผู้ส่งออกสับปะรด จํานวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตร ได้จํานวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการผลิตสับปะรดคุณภาพส่งออก (X1) มาตรการสุขาภิบาลและสุขอนามัยการแปรรูปสับปะรดส่งออก (X2) ข้อกําหนดคุณภาพและเกณฑ์คลาดเคลื่อนสับปะรดส่งออก (X3) การผลิตสับปะรดปลอดภัยสําหรับการส่งออก (X4) 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาการผลิตสับปะรดได้จํานวน 3 องค์ประกอบได้แก่การพัฒนาเทคโนโลยี และการบริการส่งออกสับปะรด (X5) การพัฒนาวิธีการขายและผลิตภัณฑ์สับปะรดส่งออก (X6) การพัฒนาระบบการขนส่งและการสื่อสารเพื่อส่งออกสับปะรด (X7) และ 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมการผลิตสับปะรดได้จํานวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่การส่งเสริมการผลิตสับปะรดส่งออกตามแนวคิดชีวิตวิถีใหม่ (X8) การส่งเสริมการค้าสับปะรดระหว่างประเทศ (X9) การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (X10) การส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรมการผลิตสับปะรด (X11) และ การส่งเสริมด้านธรรมาภิบาดธุรกิจสับปะรด (X12) นำ 12 องค์ประกอบมาหาความสัมพันธ์กับความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกสามารถสร้างสมการถดถอยพหุคูณเพื่อใช้ในการพยากรณ์ คือ =0.423 +0.089X1+0.074X2+0.077X3+0.105X4+0.058X5+0.103X6 +0.067X7+0.074X8+0.100X9+0.068X10+0.075X11+0.054X12 จากสมการพยากรณ์ได้ว่า หากส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้แปรรูปและผู้ส่งออก ได้ปฏิบัติตามองค์ประกอบ ทั้ง 2 องค์ประกอบแล้ว จะส่งผลให้เกษตรกรผู้แปรรูปและผู้ส่งออก ต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.50 เมื่อนำทั้ง 12 องค์ประกอบมาสังเคราะห์เป็นโมเดลส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกสามารถกำหนดเป็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก ได้เป็นแนวทาง ได้แก่ 1) การส่งเสริมการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานส่งออก 2) การส่งเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิตสับปะรดคุณภาพ 3) การผลิตสับปะรดที่ได้มาตรฐานและพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้น 4) การส่งเสริมการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์สับปะรดส่งออก 5) การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเพื่อให้เกษตรกร ผู้แปรรูปและผู้ส่งออกต้องการผลิตสับปะรดส่งออก และ 6) การส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตเพื่อให้เกษตรกร ผู้แปรรูปและผู้ส่งออกต้องการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานส่งออก เมื่อนำโมเดลส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกมาจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนการปฏิบัติ แบ่งได้ 3 ขั้น คือ 1) ขั้นต้นเน้นการผลิตสับปะรดให้มีคุณภาพการส่งออก 2) ขั้นปรับเปลี่ยน เน้นการปรับเปลี่ยนจากการผลิตเดิมเป็นการผลิตวิถีใหม่ และ 3) ขั้นการพัฒนาเนินการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานส่งออก การประเมินประสิทธิผลโมเดล พบว่า เกษตรกร ผู้แปรรูป และผู้ส่งออก หลังนำโมเดลไปทดลองปฏิบัติตามแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกได้เพิ่มขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10014
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168833.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons