Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10016
Title: โมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Longan technology extension model for sustainable development by longan farmers in Northern Thailand
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พาวิน มะโนชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรา แสนสุข, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ลำไย--การผลิต--ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การผลิตลำไยของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย 2) การใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยของเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ 3) ความแตกต่างของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยของเกษตรกรทั่วไปและเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ 4) ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย 5) พัฒนาโมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย และ 6) ประสิทธิผลของโมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย ประชากร เป็นเกษตรกรผู้ผลิตลําไยภาคเหนือ จํานวน 11,819 ราย และเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 30 ราย กําหนดกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือ จํานวน 200 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 30 ราย และทดสอบโมเดลกับนักส่งเสริมการเกษตร/นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการผลิตลําไย รวมทั้งหมด 10 ราย โดยการคัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงเปรียบเทียบ วิเคราะห์ปัจจัย วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก และวิเคราะห์กำหนดแนวทางแก้ไข จากนั้นทําการสังเคราะห์เป็นโมเดลต้นแบบและประเมินประสิทธิผลของโมเดล ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ ในดินร่วนปนทราย ปลูกระยะ 8x8 ม. ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในระยะเตรียมต้น ระยะออกดอก และระยะสร้างผล ให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ มีการคัดเกรดผลผลิตลำไย โดยขายลำไยเอง ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง และขายเหมาทั้งสวน และมีการแปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง 2) การใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยของเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ การปลูกลำไยระบบชิด การวิเคราะห์ขาตุอาหารในดิน การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือปุ๋ยสั่งตัด การปรับปรุงบำรุงดินโดยอินทรียวัตถุ การผลิตลำไยออกนอกฤดู การจัดการโรคและแมลงลำไยโดยวิธีผสมผสาน (PM) การตัดแต่งกิ่งลำไยทรงพุ่มเตี้ย การตัดแต่งช่อผลลําไย และการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP 3) การใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยของเกษตรกรทั่วไปและเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ มีความแตกต่างกัน (p<0.05) โดยเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติในระดับมาก ส่วนเกษตรกรทั่วไปปฏิบัติในระดับน้อย 4) ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรทั่วไป ภาพรวมอยู่ในระดับมาก สําหรับเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5) โมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ (1) ส่งเสริมการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างโอกาสทางการตลาดและเพิ่มรายได้จากการผลิตลำไยนอกฤดู (2) ส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (3) ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (4) ส่งเสริมด้านการผลิตเพื่อความยั่งยืน 6) ประสิทธิผลของโมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยการพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น โมเดลจึงมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ มีความสอดคล้องกับบริบท และมีความเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสามารถนําไปใช้ได้จริง
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10016
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168831.pdfเอกสารฉบับเต็ม37.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons