กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10017
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปัทมาพร เย็นบำรุง, อาจารย์ที่ปรึกษา.th_TH
dc.contributor.advisorรศรินทร์ เกรย์, อาจารย์ที่ปรึกษา.th_TH
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา.th_TH
dc.contributor.authorพรชิตา อุปถัมภ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-26T03:38:37Z-
dc.date.available2023-10-26T03:38:37Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10017-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของหน่วยงานบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) พัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยงานบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 12 แห่ง โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 12 คน ผู้ให้บริการ จำนวน 24 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 3 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย แล้วนำผลการวิจัยมาสังเคราะห์และพัฒนาร่างรูปแบบการบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รับรองร่างรูปแบบโดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน จากนั้นนำรูปแบบที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองโดยการวิเคราะห์ความเข้ากันได้กับเกณฑ์การประเมินคุณภาพของหน่วยงานบริการสารสนเทศสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยงานบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพัฒนาทางสังคม ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยดำเนินกิจกรรมบริการสารสนเทศ 4 ประเภท ได้แก่ บริการตอบคำถาม บริการการสอนหรือบริการแนะนำ บริการชี้แนะแหล่งสารสนเทศและบริการเผยแพร่สารสนเทศ เนื้อหาสารสนเทศที่ให้บริการสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานและสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ 2) พฤติกรรมสารสนเทศของผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการสารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาพ โดยการแนะนำของผู้ให้บริการและบุคคลใกล้ชิด ช่องทางการแสวงหาสารสนเทศ คือ สื่อมวลชน หน่วยงานบริการสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศออนไลน์ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล 3) รูปแบบการบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คือ (1) ปัจจัยพื้นฐานการบริการสารสนเทศ ครอบคลุมนโยบายการบริการสารสนเทศ เครือข่ายบริการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งบประมาณ การประชาสัมพันธ์ และสภาพแวดล้อม (2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครอบคลุมผู้ให้บริการ บุคคลใกล้ชิด และผู้สูงอายุ (3) เนื้อหาสารสนเทศที่ให้บริการ ครอบคลุมสารสนเทศที่บันทึกไว้ในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกิจกรรม และ (4) ลักษณะการบริการสารสนเทศครอบคลุมการบริการภายในหน่วยงาน และการบริการภายนอกหน่วยงาน ผลการวิเคราะห์ความเข้ากันได้ระหว่างรูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพฯ พบว่า มีความเข้ากันได้โดยเฉพาะในองค์ประกอบลักษณะการบริการสารสนเทศ.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์.th_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การศึกษาต่อเนื่อง.th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตth_TH
dc.title.alternativeThe development of an information services model of the elderly for lifelong learningth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168839.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons