Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10028
Title: การเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ ศึกษากรณี การประกันตัวในชั้นอุทธรณ์
Other Titles: Putting the person in state power, study the case of bail in the appeal class
Authors: อิงครัต ดลเจิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุทัย ชูสกุล, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันตัว
การปล่อยชั่วคราว
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: สารนิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประกันตัวหรือการปล่อยชั่วคราวในชั้นศาล โดยมุ่งศึกษาเฉพาะการประกันตัวหรือการปล่อยชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์ โดยเฉพาะกรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย เพื่อหาเหตุผล ความเป็นไปได้ และมาตรการที่เหมาะสม นำมาปรับปรุงแก้ไขใช้กับการพิจารณาการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ โดยทำการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ทั้งในด้านกฎหมาย บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของไทย กฎหมายต่างประเทศ บทความทางด้านกฎหมาย ตลอดจนวิทยานิพนธ์ที่มีผู้ทําการศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องการปล่อยชั่วคราวไว้แล้ว จากการศึกษาพบว่า การปล่อยชั่วคราวของศาล ตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงศาลฎีกา การใช้ดุลพินิจของศาลยังยึดมั่นอยู่กับการเรียกประกันหรือหลักประกันอยู่เสมอ โดยยึดถือแนวปฏิบัติเดิม ๆ ที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมา มีการตีราคาหรือวงเงินประกันเป็นมาตรฐานไว้สําหรับความผิดแต่ละชนิดคล้ายกับราคาสินค้า มีตั้งแต่ราคาถูกจนถึงราคาแพงขึ้นอยู่กับความหนักเบาแห่งข้อหาเป็นหลักสำคัญ ส่วนจะมีความเหมาะสมกับฐานะของจำเลยหรือไม่นั้น ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ คนจนหรือคนรวยอยู่ภายใต้หลักประกันเดียวกัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เพราะโอกาสของคนจนมีน้อยกว่าคนรวย กรณีเกี่ยวกับการนําคําพิพากษาของศาลชั้นต้นกรณีที่ยกฟ้องจําเลยตามที่กล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการปล่อยชั่วคราวก็ไม่มีการกําหนดไว้เป็นกฎหมายหรือข้อปฏิบัติ จึงทำให้ไม่มีใครกล้านำเอาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องจําเลย มาใช้ประกอบดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ดังนั้น หากมีการระบุไว้เป็นกฎหมายหรือข้อปฏิบัติ น่าจะเป็นการสนับสนุนหรือผ่อนคลายในการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวของศาลอีกช่องทางหนึ่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10028
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons