กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10030
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Process of driving the development of quality of life at the district level by the district quality of life development committee (DHB), Cho-I Rong District Narathiwat |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม หทัยรัตน์ สติรักษ์, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี คุณภาพชีวิต--ไทย--นราธิวาส การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส และ (3) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จํานวน 14 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการศึกษาจากข้อมูลที่มีผู้บันทึกไว้แล้วโดยผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยวิธีการหาค่าร้อยละ และด้านความคิดเห็นต่อกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส โดยวิธีการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่าง ๆ การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT) และการตีความแล้วสรุปประเด็นที่ได้จากการค้นพบ ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ดำเนินการตามนโยบายจาก “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ บูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม ฯลฯ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ด้านผู้บริหารที่ให้ความสำคัญในนโยบายด้านโครงสร้าง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การประชุมวางแผนการดำเนินงาน ประชาคมสํารวจความต้องการของประชาชน และดำเนินกิจกรรม ด้านทรัพยากร มีการระดมทรัพยากรมาใช้ร่วมกันแบบบูรณาการ ด้านบุคลากร ที่กระตือรือร้นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้านภาคีเครือข่าย คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และด้านนโยบายกฎหมายต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินงาน และ (3) ปัญหา อุปสรรค ประกอบด้วยการบริหารงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นโยบายอื่น ๆ ที่ต้องดำเนินการ สภาวะเศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อมทางสังคม สภาวะทางการเมืองระดับประเทศและท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ได้แก่ การใช้เวทีหรือกลไกการประชุมคณะกรรมการอำเภอหัวหน้าส่วนราชการ ติดตามเร่งรัดการปฏิบัติงานและสร้างความเข้าใจในพื้นที่นั้น คืนข้อมูลแก่ประชาชน บูรณาการจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากร เชื่อมโยงการทำงานเป็นทีมทั้งแนวราบ/แนวดิ่ง ตลอดจนกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และดำเนินงานตามกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในทุกขั้นตอนภายใต้มาตรการและมาตรฐานเดียวกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10030 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License