กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1003
ชื่อเรื่อง: กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ กับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Deliberative democracy procedure and environmental problem solving of Don Wai Floating Market Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นคร เส็งเจริญ, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ประชาธิปไตย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
ประชาธิปไตยแบบสานเสวนา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและรูปแบบของกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของตลาดนํ้าดอนหวาย (2) ปัญหา และอุปสรรคของการใช้รูปแบบและกระบวนการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (3) นําเสนอ แนวคิดและรูปแบบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของตลาดนํ้าดอนหวาย โดยการปรับใช้องค์ประกอบของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการศึกษาแนวคิดจากเอกสาร ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการตลาดนํ้าดอนหวาย, เจ้าพนักงานปกครองท้องที่, ผู้นําชุมชน, ผู้ประกอบการ ประชาชนที่มีภูมิลําเนาบริเวณตลาดนํ้าดอนหวาย และการสังเกตการณ์ เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารจัดการของคณะกรรมการตลาดนํ้าดอนหวาย ที่ผ่านมายึดธรรมเนียมปฏิบัติเป็นหลักในการบริหารจัดการและศึกษาแนวปฏิบัติเพิ่มเติมจากผู้ประกอบการตลาดนํ้าแหล่งอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักแนวคิดและรูปแบบของกระบวนการ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือแต่อย่างใด (2) ความไม่รู้และขาดความเข้าใจในรูปแบบของ กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ทําให้คณะกรรมการตลาดนํ้าดอนหวายและทุกฝ่ายที่ เกี่่ยวข้องไม่ทราบถึงประโยชน์ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะนําไปใช้เป็นหลักปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับตลาดน้ำดอนหวาย (3) การนําเสนอแนวคิดและรูปแบบของกระบวนการ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ประกอบด้วยการตกลงร่วมกัน, เป็นเหตุผลที่พลเมืองทุกคน สามารถเข้าถึงได้, การตัดสินใจที่เป็นข้อผูกมัดและเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต ซึ่งจะทําให้ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องต่างเห็นพ้องร่วมกันว่ากระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะสามารถทําการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกบตลาดน้ำดอนหวายได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1003
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib162053.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons