กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10045
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่าสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of para rubber plantation management model base on forest stewardship council for smallholder farmers in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา.
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา.
บัญชา สมบูรณ์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา.
สุรศักดิ์ ตาดทอง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการการผลิตพืชและการพัฒนา -- วิทยานิพนธ์
สวนยาง -- การจัดการ
ยางพารา -- การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ การจัดการสวนยางพารา และปัญหาในการจัดการที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน 2) ศึกษาความรู้ ทัศนคติของเกษตรกรชาวสวนยางเกี่ยวกับการจัดการสวนยางพารา ตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่า 3) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยดำเนินการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่า 4) พัฒนารูปแบบการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่า 5) ประเมินรูปแบบการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการขอการรับรองมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 335 ราย กำหนดขนาดตามสูตร ทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 183 ราย เลือกตัวอย่างแบบบังเอิญโดยการกำหนดโควต้า 2) กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 6 กลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 ราย 3) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย เลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.03 ปี ประสบการณ์การทำสวนยางเฉลี่ย 20.8 ปี แรงงานเฉลี่ย 1.8 คนต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยว จำหน่ายผลผลิตแบบน้ำยางสด เกษตรกรมีปัญหาในการจัดการที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนระดับมากเกี่ยวกับแผนการโค่นต้นยางและการบันทึกข้อมูล 2) เกษตรกรมีความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่าในภาพรวมระดับปานกลาง และระดับมาก ตามลำดับ 3) ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ การมีแผนงานที่ชัดเจน มีทัศนคติเชิงบวก กลุ่มเข้มแข็งเกษตรกรมีความพร้อม มีบุคลากรเพียงพอ กลุ่มและเกษตรกรสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐาน มีส่วนร่วมกับกลุ่ม/ชุมชน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งบประมาณและอุปกรณ์ แหล่งจำหน่ายยางพารา พื้นที่อนุรักษ์ หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐาน ที่ปรึกษาของกลุ่ม 4) รูปแบบการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่า สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ประกอบด้วย การให้ความรู้ ความเข้าใจหลักการแก่กลุ่มและเกษตรกรสมาชิก วิเคราะห์ปัญหาของกลุ่มและเกษตรกรสมาชิกในการปฏิบัติตามหลักการ ศึกษาปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มที่ผ่านการรับรองเพื่อนำมาปรับใช้ การกำหนดขั้นตอน วิธีการปฏิบัติสู่การรับรองโดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพเพื่อควบคุมและพัฒนา และยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานแบบกลุ่ม 5) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการสวนยางพาราตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของสภาพิทักษ์ป่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10045
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168836.pdfเอกสารฉบับเต็ม44.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons