กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1005
ชื่อเรื่อง: | แนวคิดและพระบรมราโชบายทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตามกรอบแนวคิดทางการเมืองของมาเคียเวลลี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political concepts and royal policies of King Chulalongkorn besed on Machiavelli's philosophy |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รุ่งพงษ์ ชัยนาม นพดล ธนากิจบริสุทธิ์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 -- พระราชกรณียกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ มาคิอาเวลเลียนิสม์ (จิตวิทยา) ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- 2411-2453 |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปรียบเทียบกับแนวคิดทางการเมืองของมาเคียเวลลี (2) พระบรมราโชบายทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปรียบเทียบกับแนวนโยบายทางการเมืองของมาเคียเวลลี การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่ การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งมีประชากรประกอบด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์และ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ตอนต้น 3 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างและนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คล้ายคลึงกับแนวคิดทางการเมืองของมาเคียเวลลี เนื่องจากแนวคิดในเรื่องภาวะผู้นำทางการเมือง การได้มาซึ่งอำนาจ การรักษาอำนาจ การรวมชาติเป็นหนึ่งเดียวและความมั่นคงแห่งรัฐมีความคล้ายคลึงกัน แต่การให้ความหมายผลกระทบจากโชคชะตาทางการเมืองมีความแตกต่างกัน (2) พระบรมราโชบายทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคล้ายคลึงกับแนวนโยบายทางการเมืองของมาเคียเวลลี เนื่องจากมีการจัดรูปแบบและระเบียบทางการเมืองการปกครองภายในรัฐให้เป็นสมัยใหม่ การจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติ การดำเนินการทางการทูตกับรัฐภายนอกและการตรากฎหมายเพื่อบังคับใช้ภายในรัฐมีความคล้ายคลึงกัน แต่การให้มีกฎหมายสูงสุดแห่งรัฐและการให้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองแก่ประชาชนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะด้วยการกล่อมเกลาทางการเมืองมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ซึ่งส่งเสริมให้พระองค์ทรงมีภาวะผู้นำทางการเมืองและใช้คุณธรรมความสามารถทางการเมืองอย่างมีศิลปะในการจัดการโชคชะตา ทางการเมืองต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรวมศูนย์แห่งองค์พระมหากษัตริย์และรักษาอำนาจแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ครอบคลุมขอบเขตแห่งรัฐอันนำมาซึ่งความมั่นคงแห่งรัฐและการรวมชาติสยามเป็นหนึ่งเดียวอย่างมีเอกราช |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1005 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib140589.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License