Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชัยยงค์ พรหมวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธนิศ ภู่ศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปาริชาด พันทอง-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-27T07:57:45Z-
dc.date.available2023-10-27T07:57:45Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10065-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการสร้างภาพและเสียงดนตรีด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) ศึกษาความก้าวหน้าของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนระหานวิทยา อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 28 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบอิงประสบการณ์ วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการสร้างภาพและเสียงดนตรีด้วยโปรแกรม ไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 7 การวาดภาพเฟอร์นิเจอร์ ในห้องเรียนด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก หน่วยประสบการณ์ที่ 10 การใช้งานตัวแปร ในการวาดภาพดอกไม้ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก และหน่วยประสบการณ์ที่ 11 การวาดภาพ เคลื่อนที่และเสียงเพลงด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก (2) แบบทดสอบก่อนและหลัง เผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียน ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ ด้วยค่า E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการสร้างภาพและเสียงดนตรีด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ 77.43 / 77.29 , 72.50 / 72.71 และ 76.86 / 75.89 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์มีความคิดเห็นต่อชุดการเรียน อยู่ในระดับ "เห็นด้วยมาก"th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2007.149-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการสอนด้วยสื่อ--ไทย--กำแพงเพชรth_TH
dc.subjectอิเล็กทรอนิกส์--แบบเรียนสำเร็จรูปth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีทางการศึกษา--แบบเรียนสำเร็จรูปth_TH
dc.titleชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการสร้างภาพและเสียงดนตรี ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดว์โลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2th_TH
dc.title.alternativeExprerience-based e-learning packeged in program writing subject on creating picture and music using Microsoft Window Logo Program for Mathayom Suksa II Students in Schools under Kamphaeng Phet Educational Service Area 2th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2007.149-
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were ; (1) to develop a set of Experience-Based e-Learning Packaged in Basic Program Writing Subjects on Creating Picture and Music Using Microsoft Windows Logo Program for Mathayom Suksa II Students based on the 75/75 efficiency criterion; (2) to study the progress of the students learning from the Experience-Based e-Learning packages and (3) to study the opinion of the students on the quality of Experience-Based e-Learning packages Samples were 28 Mathayomsuksa II students at RahanWittaya School, BungSamakkee District in the Kamphaenphet Educational Service Area II who were studying in the Second Semester of Academic Year 2006 using the purposive sampling technique. Research tools comprised (1) Three units of experience-based e-Learning packages in Basic Program Writing Subjects on Creating Picture and Music Using Microsoft Windows Logo Program, namely Unit 7: Creating Classroom Furniture with Microsoft Windows Logo Program; Unit 10: Using Variables in Creating Flowers with Windows Logo Program; Unit 11: Creating Moving Images and Music with Windows Logo Program; (2) Pretests and posttests in parallel forms; and (3) Questionnaires asking the students' opinion on the quality of the experience-based e-Learning packages; and (4) Statistics used were E1/E2, t-test, percentage, and Standard Deviation. Findings: It was found that (1) the three units of experience-based e- Learning packages were efficient at 77.43/77.29, 72.50/72.71; and 76.86/75.89 respectively; thus meeting the set efficiency criterion of 75/75; (2) the learning progress of the students learning from the experience-based e-Learning packages was significantly increased at the.05 level; and (3) the opinion of the students on the quality of the experience-based e-Learning packages was "Highly Agreeable"en_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdf29.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons