กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1006
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ของผู้มีสิทธิออกเสียงในจังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing voting in the 2007 draft constitution referendum of voters in Lamphun
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รสลิน ศิริยะพันธุ์
นรนล สมบุญโสด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ประชามติ -- ไทย -- ลำพูน
การตัดสินใจ
การเมือง -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงประชามติ ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ของผู้มีสิทธ์ออกเสียงประชามติในจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีสิทธ์ออกเสียงประชามติในจังหวัดลำพูน จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการลงประชามติ คือปัจจัย ด้านการรับทราบเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จากสื่อต่างๆ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงประชามติ ที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการลงประชามติ คือปัจจัยด้านกระบวนการจัดการลงประชามติของคณะกรรมการ การเสือกตั้ง ด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ของกลุ่มต่างๆ ด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน “ไม่เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ของกลุ่มต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1006
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib139667.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons