Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10079
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกรรณิการ์ ชายพรม, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T03:18:30Z-
dc.date.available2023-10-30T03:18:30Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10079-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระยะเวลาที่แผลหายจำแนกตามขนาดของแผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 2) เปรียบเทียบอัตราการหายของแผลภายหลังบำบัด 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 3) เปรียบเทียบคะแนนในการหายของแผลของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังบำบัดในแต่ละสัปดาห์ และ 4) เปรียบเทียบร้อยละการหายของแผลจำแนกตามด้านของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบใน 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เป็นแผลจากสารฆ่าแมลงที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม ซึ่งได้จากการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เหล่าน้อย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกลุ่มทดลอง และจาก รพ.สต.บ้านนาทม เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวนกลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นการบำบัดแผลด้วยน้ำสกัดสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ 1) เปลือกประดู่ 2) เปลือกพะเนียงหัด 3) เปลือกนนทรี 4) เปลือกพะยอม 5) ลำต้นและใบสบู่ดำ 6) เปลือกสมัดใหญ่ 7) เปลือกมะค่าแต้ 8) เปลือกมะค่าโมง 9) เปลือกกระโดน 10) เครือคางควาย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) เวอร์เนีย คาลิเปอร์สำหรับวัดขนาดแผล และ 2) แบบบันทึกข้อมูลซึ่งมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินการหายของแผลโดยใช้ Bates-Jensen Wound Assessment Tool (BWAT) และ 3) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขนาดแผล แบบสอบถามส่วนที่ 2 มีค่าความเที่ยง 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทีชนิดอิสระ สถิติการทดสอบสัดส่วน และสถิติการทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษา พบว่า 1) แผลขนาดเล็กของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหายโดยเฉลี่ย 26.55 และ 36.55 วัน ตามลำดับ แผลขนาดกลางหายโดยเฉลี่ย 35.71 และ 48.15 วัน ตามลำดับ ส่วนแผลขนาดใหญ่หายโดยเฉลี่ย 49.00 และ 59.08 วัน ตามลำดับ กลุ่มทดลองมีระยะเวลาที่แผลทุกขนาดหายเร็วกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) อัตราการหายของแผลหลังบำบัด 4 สัปดาห์ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3) คะแนนการหายของแผลของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ร้อยละการหายของแผลใน 4 สัปดาห์ ทั้งด้านกว้าง ยาวและลึกของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบาดแผลและบาดเจ็บ--การพยาบาลth_TH
dc.subjectบาดแผลและบาดเจ็บ--การรักษาด้วยสมุนไพรth_TH
dc.titleประสิทธิผลของการบำบัดแผลจากสารฆ่าแมลงด้วยน้ำสกัดสมุนไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดth_TH
dc.title.alternativeThe effectiveness of dressing wounds caused by insecticide using herbal extract solution at Selaphum district, Roi Et provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research were: 1) to compare time duration of the wound healing classified by wound size between the experimental and control groups, 2) to compare the rate of wound healing after dressing the wound for 4 weeks between the experimental and control groups, 3) to compare the scores of wound healing before and after dressing for 4 weeks between the experimental and control groups, 4) to compare the percentage of wound healing between the experimental and control groups in 4 weeks. The patients with the wound caused by insecticide using in agriculture were selected by specific criteria. The numbers of subjects of the experimental and control groups were equal (36 each) and got the wound dressing at Lao Noi and Nathom Health Promotion Hospital, Selaphum District, Roi Et Province, respectively. An experimental tool of this experiment included herbal extract solution from 10 herbs using for wound dressing. These herbs comprised: 1) bark of Plerocapus indicus, 2) bark of Lophopetalum duperreanum Pierre, 3) bark of Peltophorum dasyrrhachis (Miq.) Kurz, 4) bark of Shorea taiura Roxb, 5) stem and leaves of Jatropha curcas Linn, 6) bark of Clausena excavata Burm.f, 7) bark of Sindora siamensis Miq, 8) bark of Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib, 9) bark of Careya sphaerica Roxb, and 10) climber of Dalbergia velutina Benth. Data collection tools were 1) Vernier caliper used for wound size measuring and 2) questionnaires composed of 3 parts as (1) general information, (2) wound healing assessment form using Bates-Jensen Wound Assessment Tool (BWAT), and (3) wound size recording form. The reliability of second part was 0.91. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test, Independent t-test, Proportional test, and Mann-Whitney U test. The results revealed as follows. 1) The small wounds of both experimental group and control groups healed in 26.55 and 36.55 days respectively. The middle wounds healed in 35.71 and 48.15 days respectively. The large wounds healed in 49.00 and 59.08 days respectively. All size of the wounds in the experimental group were significantly healed faster than the control group (p < .001). 2) The healing rate of wounds in 4 weeks of the experimental group were significantly more than the control group (p < .01). 3) The score in wound healing of the experimental group were significantly less than the control group (p < .001). Finally, 4) the percentage of wound healing within 4 weeks in width, length, and depth of the experimental group were significantly more than the control group (p < .01).en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165006.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons