กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10079
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการบำบัดแผลจากสารฆ่าแมลงด้วยน้ำสกัดสมุนไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of dressing wounds caused by insecticide using herbal extract solution at Selaphum district, Roi Et province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณิการ์ ชายพรม, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
บาดแผลและบาดเจ็บ--การพยาบาล
บาดแผลและบาดเจ็บ--การรักษาด้วยสมุนไพร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระยะเวลาที่แผลหายจำแนกตามขนาดของแผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 2) เปรียบเทียบอัตราการหายของแผลภายหลังบำบัด 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 3) เปรียบเทียบคะแนนในการหายของแผลของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังบำบัดในแต่ละสัปดาห์ และ 4) เปรียบเทียบร้อยละการหายของแผลจำแนกตามด้านของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบใน 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เป็นแผลจากสารฆ่าแมลงที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม ซึ่งได้จากการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เหล่าน้อย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกลุ่มทดลอง และจาก รพ.สต.บ้านนาทม เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวนกลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นการบำบัดแผลด้วยน้ำสกัดสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ 1) เปลือกประดู่ 2) เปลือกพะเนียงหัด 3) เปลือกนนทรี 4) เปลือกพะยอม 5) ลำต้นและใบสบู่ดำ 6) เปลือกสมัดใหญ่ 7) เปลือกมะค่าแต้ 8) เปลือกมะค่าโมง 9) เปลือกกระโดน 10) เครือคางควาย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) เวอร์เนีย คาลิเปอร์สำหรับวัดขนาดแผล และ 2) แบบบันทึกข้อมูลซึ่งมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินการหายของแผลโดยใช้ Bates-Jensen Wound Assessment Tool (BWAT) และ 3) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขนาดแผล แบบสอบถามส่วนที่ 2 มีค่าความเที่ยง 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทีชนิดอิสระ สถิติการทดสอบสัดส่วน และสถิติการทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษา พบว่า 1) แผลขนาดเล็กของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหายโดยเฉลี่ย 26.55 และ 36.55 วัน ตามลำดับ แผลขนาดกลางหายโดยเฉลี่ย 35.71 และ 48.15 วัน ตามลำดับ ส่วนแผลขนาดใหญ่หายโดยเฉลี่ย 49.00 และ 59.08 วัน ตามลำดับ กลุ่มทดลองมีระยะเวลาที่แผลทุกขนาดหายเร็วกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) อัตราการหายของแผลหลังบำบัด 4 สัปดาห์ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3) คะแนนการหายของแผลของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ร้อยละการหายของแผลใน 4 สัปดาห์ ทั้งด้านกว้าง ยาวและลึกของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10079
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165006.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons