Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพระศุกร์ หัยภาค, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T03:40:30Z-
dc.date.available2023-10-30T03:40:30Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10082-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสวนและเกษตรกรกรณีศึกษา นายสายัญ มุ่งเขตกลาง 2) รูปแบบการจัดการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกรณีศึกษา นายสายัญ มุ่งเขตกลาง และ 3) ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรประสบความสำเร็จการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง คือนายสายัญ มุ่งเขตกลาง โดยมีเงื่อนไขเป็นเกษตรกรที่ประสบผลสําเร็จในด้านเกษตรแบบผสมผสาน เป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชนหมู่บ้านเขาพระ และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงาน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การจําแนกและจัดกลุ่มข้อมูล การวิเคราะห์องค์ประกอบและการศีกษาความเป็นเหตุและผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของสวน ดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ภูมิประเทศเป็นที่ตอนสลับที่ลุ่ม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างแปรปรวน ข้อมูลเกษตรกร อายุ 58 ปี จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 นับถือศาสนาพุทธ มีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนรวมทั้งแหล่งเรียนรู้ และสวนตัวอย่างของชุมชน 2) รูปแบบการจัดการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ด้านการจัดการกระบวนการผลิต การใช้ที่ดินเพื่อผลิตจำนวน 20 ไร่ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ด้านทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ดอน ปลูกผักสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา พื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา มีการขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ผลิตน้ำส้มควันไม้ เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช มีการจัดการเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงอย่างคุ้มค่า มีการใช้แรงงานในครอบครัวมีการวางแผนการใช้เงิน ด้านการจัดการส่วนประสมการตลาดโดยผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด เน้นสินค้าคุณภาพ สดสะอาด และปลอดภัย ราคาสมเหตุสมผล ขายตรงไปยังตลาดเป้าหมาย การประชาสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะการบอกต่อ และ (2) ด้านการจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้หลักความพอประมาณ ผลิตเพื่อบริโภคเหลือจึงจําหน่าย ความมีเหตุผลผลิตตามศักยภาพของพื้นที่และองค์ความรู้ที่มีความมีภูมิคุ้มกันมีการวางแผนการทำกิจกรรมที่เกื้อกูล พืชปานาญชีวิตและแผนการออม ด้านเงื่อนไขความรู้มีการนำความรู้มาใช้ในการจัดการการผลิตและการตลาด ด้านคุณธรรมมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตและมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าอย่างเสมอภาค และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ 3) ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยภายใน ได้แก่ การวางแผนการใช้ชีวิต ประสบการณ์ของเกษตรกร ทุนดำเนินการของเกษตรกร และการได้รับความไว้วางใจ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภูมิประเทศที่เหมาะสม การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และการสนับสนุนการเรียนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง--ไทยth_TH
dc.subjectเกษตรกรรมแบบผสมผสานth_TH
dc.subjectเกษตรทฤษฎีใหม่th_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--อุทัยธานีth_TH
dc.titleการจัดการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา นายสายัญ มุ่งเขตกลาง จังหวัดอุทัยธานีth_TH
dc.title.alternativeManagement of integrated agriculture with sufficiency economy philosophy approach: a case study of Mr. Sayan Moongkedklang, Uthai Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research was qualitative research that aimed to study 1) the model of integrated agriculture management with sufficiency economy philosophy approach of the case study; 2) marketing mix management; and 3) the factors contributing to the success of the case study. The case study, Mr. Sayan Moongkedklang, was selected through purposive sampling because he is a successful farmer in the field of integrated agriculture, is a good role model of Khao Phra Village and his farm is a learning center for study visits. The research tools were in-depth interviews. Data were analyzed using methods of classification and the study of cause and effect. The research findings were as follows: 1) The farm was loam-clay soil, partly lowland and partly hilly with variable climate. The farmer was 58 years old, completed fourth grade education, was Buddhist and had a simple lifestyle following the sufficiency economy philosophy. He was a model for the community. 2) For the model of integrated agriculture management with sufficiency economy philosophy approach, (1) Agricultural system management, the 3.2 hectares of the farm was divided into the hilly section that was for growing vegetables, fruit, laying hens and aquaculture, and the lowland section that was suitable for rice and had a reservoir to collect water for use in the dry season. The farmer collected his own seed and made his own pesticide from charcoal. He used family labor and used machinery prudently. The management of the marketing mix consisted of (a) Product: produced according to market demand and focus on quality, fresh, clean and safe; (b) Price: affordable pricing and reasonable; (c) Product distribution: selling products directly to the target market; and (d) Public relations: focusing on wordof-mouth marketing strategies. (2) For management according to the sufficiency economy philosophy, he produced for family consumption and sold the excess; he used reason and common sense to produce what was suitable for the area and his knowledge; he invested in plants and had a savings plan; he used his knowledge to manage production and marketing; he was transparent and honest; he was always unbiased and ethical in business dealings; and he was environmentally responsible. 3) The success factors consisted of (1) internal factors: life planning, farming experience, operating costs and trust; and (2) external factors: appropriate geography, support from government agencies and learning support.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165527.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons