Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10085
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในจังหวัดเลย
Other Titles: Extension guidelines for pineapple production adhering good agricultural practice of farmers in Loei Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริรัตน์ รักน้ำเที่ยง, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สับปะรด--การผลิต--ไทย--เลย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้พื้นฐานในการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) การผลิตและการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาในการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2561/62 จังหวัดเลย จำนวน 1,714 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 183 ราย โดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโคยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 57.9 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.73 ปี ร้อยละ 60.7 จบประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.41 ราย ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตสับปะรดอยู่ในระดับปานกลาง มีรายได้เฉลี่ยจากการเกษตร 34,704.92 บาทต่อปี รายได้เฉลี่ยจากสับปะรด 28,469.94 บาทต่อปี พื้นที่ปลูกสับปะรดเฉลี่ย 5.43 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,725.79 กก./ไร่ จำนวนแรงงาน เฉลี่ย 3.30 ราย มีต้นทุนการปลูกสับปะรด 22,551.64 บาทต่อปี มีประสบการณ์การปลูกสับปะรด เฉลี่ย 6.03 ปี ร้อยละ 59.0 มีพื้นที่เป็นของตนเอง เกษตรกรร้อยละ 90.7 กู้เงินลงทุน และเกษตรกรร้อยละ 89.6 ขายส่งพ่อค้าคนกลาง 2) เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับปานกลาง 3) เกษตรกรมีการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีประเด็นที่ปฏิบัติน้อยที่สุด คือ เก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไว้อย่างน้อย 2 ปี โดยเกษตรกรได้รับการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) เกษตรกรมีปัญหาในประเด็นการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ขาดเอกสารหรือคู่มือเกี่ยวกับการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยมากที่สุดในประเด็นควรจัดทำเอกสารหรือคู่มือเกี่ยวกับการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแจกให้เกษตรกร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10085
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165204.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons