Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10092
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัตรา แผนวิชิตth_TH
dc.contributor.authorเพิ่มยศ ศรีสด, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T06:08:20Z-
dc.date.available2023-10-30T06:08:20Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10092en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษริบทรัพย์ (2) ศึกษาแนวทางการลงโทษริบทรัพย์ในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาข้อดีและข้อเสียแนวทางการลงโทษริบทรัพย์ในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ และ (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายในการลงโทษริบทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ให้มีความเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลทางเอกสารจากตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความทางวิชาการ วารสาร ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎี หลักกฎหมาย การลงโทษริบทรัพย์ เป็นโทษที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลในการข่มขู่ยับยั้งและป้องปรามบุคคลมิให้กระทำผิดอีก ซึ่งการลงโทษริบทรัพย์จะต้องได้สัดส่วนกับการกระทำผิดตามหลักกฎหมายมหาชน โดยรัฐไม่ควรมีสิทธิและอำนาจ ที่จะลงโทษผู้ใดเกินกว่าความจำเป็น (2) การลงโทษริบทรัพย์ในคดีอาญาของประเทศไทยในประมวลกฎหมายอาญา ได้ให้อำนาจศาลในการริบทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด หรือทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด รวมถึงทรัพย์ซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด แต่การริบทรัพย์ตามกฎหมายป่าไม้ไทย กฎหมายกำหนดให้ริบทั้งสิ้น ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการนำหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่ามาใช้ด้วย และประเทศสหรัฐอเมริกาจะริบทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อผ่านการพิสูจน์ความผิดของจำเลยโดยศาลเสียก่อน โดยทั้งสองประเทศดังกล่าว ไม่มีการกำหนดให้ริบทรัพย์ทั้งสิ้นในกฎหมายป่าไม้ (3) การริบทรัพย์ตามกฎหมายป่าไม้ของไทยมีข้อดีคือบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการนำทรัพย์มาใช้กระทำผิดซ้ำ แต่มีข้อเสีย คือ การริบทรัพย์ดังกล่าวเป็นมาตรการที่รุนแรงเกินความจำเป็น รัฐสามารถที่จะนำหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่าและการพิสูจน์ความผิดของจำเลยโดยศาลเสียก่อนว่า ทรัพย์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือไม่ (4) จึงเห็นสมควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ของไทย เพื่อให้โอกาสจำเลยพิสูจน์ความผิดได้เช่นเดียวกับมาตรการริบทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา และในกรณีที่ไม่สามารถริบทรัพย์ได้ด้วยประการอื่นใดก็สมควรนำหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่ามาใช้บังคับในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นไม่สามารถริบได้ เช่นเดียวกันกับประเทศเกาหลีใต้มาปรับใช้กับกฎหมายป่าไม้ไทยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการริบทรัพย์th_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleศึกษาการลงโทษริบทรัพย์ตามมาตรา 74 ทวิ ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484th_TH
dc.title.alternativeStudy of property confiscation according to section 74 Bis of the Forests Act B.E. 2484 (1941)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aimed (1) to study concepts, theories and legal provisions pertaining to the property confiscation, 2) to examine a guideline for property confiscation in criminal cases in Thailand and foreign countries, 3) To explore advantages and drawbacks of property confiscation in criminal cases in Thailand and foreign countries, and 4) to propose guideline for suitable property confiscation according to the Forests Act B.E. 2484 (1941). This independent study is qualitative research conducted with documentary analysis by gather data from textbooks, theses, dissertations, academic articles, journals, and opinions of experts, specialists or related entities. The findings revealed that (1) according to the concepts, theories and legal provisions, the property confiscation was aimed to threaten, abstain and suppress a person from repeating an offence. The property confiscation must be proportionate with an offence according to the principle of public laws. The government should not have right and authority to punish any person beyond a cause of necessity. (2) The property confiscation in criminal cases in Thailand in the Criminal code was subject to a court’s authority to confiscate a property of offence or a property exploited or possessed for committing an offence as well as a property illegally obtained unless such property belonged to other people who were not involved with such offence. However, speaking of the property confiscation according to the Thai Forests Act, all properties would be entirely confiscated. However, in South Korea, the principle of confiscating property by value was implemented. Meanwhile, in the United States of America, a property would be confiscated when the defendant’s guilt was proved by the Court. For both countries, no properties were confiscated according to the forests law. (3) The property confiscation according to the Thai forests laws was advantageous in term of preventing exploitation of the property for repeating an offence. However, a drawback was that such property confiscation was an extreme measure. The government could apply the principle of value-based property confiscation and guilt proofing of the defendant by a court whether such property was involved with that offence committing or not. (4) The Thai Forests Act should be amended so that a defendant will have a chance to have his guilt proved as same as the measure of property confiscation of the United States of America. In case the confiscation of other properties is impossible, the principle of value-based property confiscation should be applied for the property that cannot be confiscated as same as South Korea provided that the Thai Forests Law should be adjusted accordingly.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168812.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons