Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10092
Title: | ศึกษาการลงโทษริบทรัพย์ตามมาตรา 74 ทวิ ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 |
Other Titles: | Study of property confiscation according to section 74 Bis of the Forests Act B.E. 2484 (1941) |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต เพิ่มยศ ศรีสด, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การริบทรัพย์ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษริบทรัพย์ (2) ศึกษาแนวทางการลงโทษริบทรัพย์ในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาข้อดีและข้อเสียแนวทางการลงโทษริบทรัพย์ในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ และ (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายในการลงโทษริบทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ให้มีความเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลทางเอกสารจากตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความทางวิชาการ วารสาร ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎี หลักกฎหมาย การลงโทษริบทรัพย์ เป็นโทษที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลในการข่มขู่ยับยั้งและป้องปรามบุคคลมิให้กระทำผิดอีก ซึ่งการลงโทษริบทรัพย์จะต้องได้สัดส่วนกับการกระทำผิดตามหลักกฎหมายมหาชน โดยรัฐไม่ควรมีสิทธิและอำนาจ ที่จะลงโทษผู้ใดเกินกว่าความจำเป็น (2) การลงโทษริบทรัพย์ในคดีอาญาของประเทศไทยในประมวลกฎหมายอาญา ได้ให้อำนาจศาลในการริบทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด หรือทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด รวมถึงทรัพย์ซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด แต่การริบทรัพย์ตามกฎหมายป่าไม้ไทย กฎหมายกำหนดให้ริบทั้งสิ้น ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการนำหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่ามาใช้ด้วย และประเทศสหรัฐอเมริกาจะริบทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อผ่านการพิสูจน์ความผิดของจำเลยโดยศาลเสียก่อน โดยทั้งสองประเทศดังกล่าว ไม่มีการกำหนดให้ริบทรัพย์ทั้งสิ้นในกฎหมายป่าไม้ (3) การริบทรัพย์ตามกฎหมายป่าไม้ของไทยมีข้อดีคือบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการนำทรัพย์มาใช้กระทำผิดซ้ำ แต่มีข้อเสีย คือ การริบทรัพย์ดังกล่าวเป็นมาตรการที่รุนแรงเกินความจำเป็น รัฐสามารถที่จะนำหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่าและการพิสูจน์ความผิดของจำเลยโดยศาลเสียก่อนว่า ทรัพย์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือไม่ (4) จึงเห็นสมควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ของไทย เพื่อให้โอกาสจำเลยพิสูจน์ความผิดได้เช่นเดียวกับมาตรการริบทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา และในกรณีที่ไม่สามารถริบทรัพย์ได้ด้วยประการอื่นใดก็สมควรนำหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่ามาใช้บังคับในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นไม่สามารถริบได้ เช่นเดียวกันกับประเทศเกาหลีใต้มาปรับใช้กับกฎหมายป่าไม้ไทย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10092 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168812.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License