Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปัญจรัศม์ นพกรประเสริฐ, 2537--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T06:35:57Z-
dc.date.available2023-10-30T06:35:57Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10099-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีหลักการของการดำเนินคดีในลักษณะแบบกลุ่ม (2) ศึกษาการดำเนินคดีในลักษณะแบบกลุ่มในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยศึกษาในกฎหมายแพ่งและกฎหมายปกครอง (3) เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในการฟ้องคดีแบบกลุ่มในศาลปกครอง งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสารจากกฎหมายเฉพาะของประเทศไทย และต่างประเทศ และใช้วิธีการศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบทางระบบกฎหมาย ระบบศาล และหลักกฎหมายโดยศีกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำราวิชาการ บทความทางวิชาการ วารสารทางวิชาการ สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง บทความทางอิเล็กทรอนิกส์จากอินเทอร์เน็ต คำพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัย หรือคำสั่ง ตัวบทกฎหมายประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายการดำเนินคดีแบบกลุ่มในศาลปกครองต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม เกิดขึ้นจากการที่รัฐหาหนทางในการบัญญัติกฎหมายการดำเนินคดีของผู้เสียหายจำนวนมาก เพื่อต้องการให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการได้ง่าย ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการได้รับความอำนวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึงและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อันเป็นวิธีการเยียวยาทางศาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน (2) การดำเนินคดีแบบกลุ่มในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในคดีแพ่งเป็นหลัก ใช้บังคับและคุ้มครองประโยชน์กับเอกชนเท่านั้น และในประเทศแคนาดาก็พบว่ามีองค์กรซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของรัฐในการให้ความช่วยเหลือกับสมาชิกกลุ่ม ส่วนวิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลไทยได้มีการแก้ไขปัญหาในการพิจารณาคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมากด้วย แต่เป็นการใช้วิธีการรวมคดี และวิธีการร้องสอดเท่านั้น (3) ให้รัฐคำนึงถึงสภาพปัญหาของการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลปกครองโดยการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจํานวนมากในการฟ้องคดีแบบกลุ่มในศาลปกครอง โดยการออกระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีแบบกลุ่มในศาลปกครอง พ.ศ.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคลth_TH
dc.titleการดำเนินคดีแบบกลุ่มในศาลปกครองth_TH
dc.title.alternativeClass action in administrative courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167120.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons