กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1009
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารทางการเมืองในบริบทที่นำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political communication in the context leading of the 19 September th 2006 coup D' etat : a case study of Matichon Sudaspdah Newspaper
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรัญ ดอนสุวรรณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
สื่อมวลชน -- แง่การเมือง
การสื่อสารทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาระของการสื่อสารทางการเมืองในเชิงวาทกรรมทางการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายนพ.ศ. 2549 ในช่วง พ.ศ.2548 - 2549 การศึกษาวิจัยนื้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร คือ หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ จำนวน 88 ฉบับ และการสัมภาษณ์นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และด้านการสื่อสารทางการเมือง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบเก็บข้อมูลเอกสาร และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การสี่อสารทางการเมืองในบริบทของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในเชิงวาทกรรมทางการเมือง มีเนื้อหาสาระในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 คือ 1. การแข่งขันทางการเมืองระหว่าง 2. ขั้วพรรคการเมือง คือพรรคไทยรักไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ และการแข่งขันทางการเมืองภายในพรรค ของพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย 2. การต่อรองทางการเมือง ในตำแหน่งทางการเมือง โดยใช่'วิธีการการลาออกของรัฐมนตริ และ ส.ส. ในพรรคไทยรักไทย 3. การต่อด้านรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง นักวิชาการปัญญาชน สี่อมวลชนและภาคประชาชน 4. การแต่งตั้งโยกย้าย ตำแหน่งนายทหารระดับสูง 3. เหล่าทัพ และตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 5. ประเด็นอื่นที่นำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือ ความไม่โปร่งใสของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง การลาออกของนายวิษชุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรีและนายบวรสักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีประเด็นผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนญ และข่าวลือเรื่องการเตรียมการรัฐประหาร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1009
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib118907.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons