Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10102
Title: ผลของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน ในอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
Other Titles: Effect of PGPR-1 and chemical fertilizers on growth and yield of sweet corn in Kut Rang District, Maha Sarakham Province
Authors: จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนาลัย วิริยะสุธี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุวรี ละโพธิ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพดหวาน--การผลิต
ปุ๋ยชีวภาพ--การใช้ประโยชน์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อสมบัติดิน 2) อัตราของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน 3) อัตราของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อองค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง โดยใช้แผนการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม มี 4 ซ้ำ จำนวน 4 ทรีตเมนต์ ประกอบด้วย ทรีตเมนต์ที่ 1 (T1) ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน ทรีตเมนต์ที่ 2 (T2) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 50% ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 250 กรัม/ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 3 (T3) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 50% ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 500 กรัม/ไร่ และ ทรีตเมนต์ที่ 4 (T4) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 50% ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงของกรมพัฒนาที่ดิน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 750 กรัม/ไร่ เก็บรวบรวมข้อมูลดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดหวาน วิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทรีตเมนต์โดยวิธี Duncan’s new multiple range test (DNMRT) ผลการทดลองพบว่า 1) ปริมาณโพแทสเซียม ปริมาณแคลเซียม และปริมาณโซเดียมในดินโดยใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 2) ความสูงต้นข้าวโพดหวาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทรีตเมนต์ (p < 0.01)ทรีตเมนต์ที่ 4 มีความสูงต้นข้าวโพดหวานสูงสุด เมื่ออายุ 56 วันและอายุ 70 วัน คือ 192.38 เซนติเมตร และ 197.19 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหนักสดต้น น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากข้าวโพดหวานในทุกทรีตเมนต์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) พบว่า ทรีตเมนต์ที่ 4 ให้น้ำหนักต้นสด น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากข้าวโพดหวานสูงกว่าทรีตเมนต์อื่น 3) จำนวนฝักดี น้ำหนักฝักดีก่อนปอกเปลือก และน้ำหนักฝักดีหลังปอกเปลือกของข้าวโพดหวานในทุกทรีตเมนต์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) พบว่า ทรีตเมนต์ที่ 2 ทำให้จำนวนฝักดีสูงสุดคือ 8,000 ฝัก/ไร่ ในทางตรงกันข้ามพบว่าทรีตเมนต์ที่ 4 มีน้ำหนักฝักดีก่อนปอกเปลือกสูงสุดคือ 3,057.75 กิโลกรัม/ไร่ และมีน้ำหนักฝักดีหลังปอกเปลือกสูงสุดคือ 2,251.00 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่ความหวานของข้าวโพดหวานไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกทรีตเมนต์ ผลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-1 อัตรา 750 กรัม/ไร่ น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน และลดการใช้ปุ๋ยเคมี
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10102
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167104.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons