Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10113
Title: การพัฒนาสื่อเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ จังหวัดตราด
Other Titles: Media development for cost reduction of farmers of durian's collaborative farming in Trat Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิงสุรัจจ์ สังข์เงิน, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การควบคุมต้นทุนการผลิต
ทุเรียน--การผลิต
ต้นทุนการผลิต--การควบคุม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านข้อมูลส่วนบุคคล ด้านสังคม และวิธีเข้าถึงความรู้ของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและต้นทุนการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 3) เพื่อสำรวจความต้องการสื่อวีดิทัศน์เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 4) เพื่อพัฒนาและทดลองใช้ วีดิทัศน์เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และ 5) เพื่อประเมินผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน จังหวัดตราด จํานวน 334 คน สุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 182 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน รวมถึงสื่อที่ใช้ในการลดต้นทุนการผลิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 76.4 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.68 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าถึงสื่อต่างๆ จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 2) เกษตรกร มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 9.73 ไร่ มีรายได้จากการผลิตทุเรียนในรอบที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562) เฉลี่ย 863,692.31 บาทต่อปี ต้นทุนการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 121,373.08 บาทต่อปี ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ยเคมี และสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทุเรียน 3) เกษตรกรต้องการสื่อวีดิทัศน์ที่มีเนื้อหาในการลดต้นทุนการผลิตเรื่องการผลิตแคลเซียมโบรอน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกษตรกรเคยได้รับการถ่ายทอดความรู้และนําไปใช้จริงจนเห็นผล ลักษณะสื่อวีดิทัศน์ที่ต้องการคือ มีการบรรยายด้วยเสียงบรรยายผู้หญิงพร้อมกับการบรรยายตัวอักษรใต้ภาพ มีระยะเวลา 5-7 นาที และใช้ภาพโทนเย็น ตัวอักษรมีขนาดใหญ่และชัดเจน 4) ประสิทธิผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ของเกษตรกร พบว่าวีดิทัศน์ที่ได้ผลิตขึ้นมีความเหมาะสมเป็นอย่างมากทั้งด้านการส่งสาร ข้อมูลข่าวสาร ช่องทางการส่ง และการรับสาร 5) เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนําความรู้ที่ได้จากสื่อวีดิทัศน์ไปใช้ในการผลิตแคลเซียมโบรอนเพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ผ่านสื่อที่ทันสมัย เข้าไปประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้เกษตรกรมีทัศนคติที่ดีต่อการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่มากยิ่งขึ้น และเสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตหลังจากการใช้สื่อวีดิทัศน์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้แก่เกษตรก
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10113
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165525.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons