Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10144
Title: การส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม
Other Titles: Extension of vegetable planting in greenhouse for farmers in Nakhon Pathom Province
Authors: เฉลิมศักดิ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาวดี ขำอิ่ม, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผัก--การปลูก
ผัก--โรงเรือน
การส่งเสริมการเกษตร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) กระบวนการปลูกผักในโรงเรือนของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกผักในโรงเรือน 4)ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกผักในโรงเรือน 5) การได้รับความรู้และความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือน และ 6) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือนประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเกษตรกรรุ่นใหม่และเกษตรกรต้นแบบที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรือนปลูกผักจำนวน 13 คน เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.07 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกผักในโรงเรือนก่อนได้รับสนับสนุนโรงเรือนปลูกผัก 2) ลักษณะการปลูกผักในโรงเรือนเป็นแบบเกษตรอินทรีย์ ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ้ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด เลือกพืชปลูกในโรงเรือนตามราคาตลาด ปลูกผักในโรงเรือนเฉลี่ย 3.67 รอบ/ปี รายได้ผลผลิตในการจำหน่ายผักกินใบเฉลี่ย 24,968.03 บาทต่อปี ผักกินผลเฉลี่ย 123,157.86 บาทต่อปี พบปัญหาด้านโรคที่เกิดจากเชื้อราในระดับปานกลาง และการระบาดของเพลี้ยไฟในระดับมาก 3) มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักในโรงเรือนในขั้นการเก็บเกี่ยวและ หลังเก็บเกี่ยวมากที่สุด การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรปฏิบัติทุกครั้งใน 7 ประเด็นได้แก่ แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและเก็บรักษา และสุขลักษณะ ส่วนบุคคล 4) มีปัญหาในระดับปานกลาง 5 ประเด็น ได้แก่ ด้านการบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต/การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว การจำหน่าย และความรู้เข้าใจในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ข้อเสนอแนะได้แก่ บางช่วงฤดูกาลอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงส่งผลต่อการเจริญเดิบโตของผักและผลผลิตลดลง 5) ส่วนใหญ่ได้รับความรู้การเลือกพืชปลูกในโร งเรือน และ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มีความต้องการความรู้ระบบการให้น้ำในโรงเรือนและการกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ส่งเสริมจากสื่อบุคคลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิธีการส่งสริมแบบบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ และ ทัศนศึกษา 6) แนวทางการ ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือน ได้แก่ ให้ความรู้เรื่องการเตรียมดิน เทคโนโลยีการให้น้ำในโรงเรือนระบบอัตโนมัติ การกำจัดโรคแมลง วัชพืช
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10144
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165453.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons