Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10147
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำทิพย์ วิภาวินth_TH
dc.contributor.authorจารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์, 2518-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-31T03:18:56Z-
dc.date.available2023-10-31T03:18:56Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10147en_US
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาสภาพการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (3) ศึกษาความต้องการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ (4) พัฒนารูปแบบการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แหล่งข้อมูลหลัก ประกอบด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2558 -2559 จำนวน 9,233 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย ผู้บริหาร นักวิจัย และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย จำนวน 72 คน เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์รูปแบบ จำนวน 12 คน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเข้าร่วมในการทดลองรูปแบบจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งมีงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุดสามอันดับแรก สภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของท้องถิ่น และเปิดพื้นที่ให้คนในท้องถิ่นแสดงอัตลักษณ์ของตนเอง เนื้อหาการวิจัยเน้นด้านเศรษฐกิจชุมชน เผยแพร่ในเวทีชุมชน และการนำเสนอในการประชุมวิชาการ ส่วนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง 2) สภาพการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งมีการจัดการสารสนเทศงานวิจัยโดยมีระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการงานวิจัย แต่ยังไม่มีนโยบายด้านการจัดการสารสนเทศที่ชัดเจน การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในฐานข้อมูลมีมาตรฐานแตกต่างกัน ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน และพบว่าไม่มีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏในการจัดการสารสนเทศแบบเป็นทางการ 3) ความต้องการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏจำแนกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการสารสนเทศในรูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่างกันตามบริบทการทำงาน ผู้บริหารและนักวิจัยต้องการสารสนเทศงานวิจัยในรูปแบบสื่อดิจิทัลที่สืบค้นจากฐานข้อมูลได้ ส่วนชุมชนท้องถิ่นต้องการสารสนเทศในรูปแบบกระดาษและการถ่ายทอดตรงโดยบุคคล 4) รูปแบบการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เรียกว่า เนตพาส ประกอบด้วย เครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ กลุ่มนักวิจัยตามสาขางานวิจัย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มนักวิจัยชุมชนแต่ละท้องถิ่น และมีกระบวนการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ประกอบด้วย การจัดทำนโยบายและแผนการจัดการข้อมูลการวิจัย การจัดระบบการจัดเก็บและค้นคืน การพัฒนาคลังสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีการลงรายการตามมาตรฐาน การจัดบริการและการให้คำปรึกษาถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสม และผลการทดลองโดยการพัฒนาคลังสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในระดับมาก และสามารถขยายผลสู่การนำไปใช้ในการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการจัดระเบียบสารสนเทศth_TH
dc.subjectระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศth_TH
dc.subjectสารสนเทศท้องถิ่น--การจัดการth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of an information management model for community-based research at Rajabhat Universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study community-based research conditions of Rajabhat Universities (2) to investigate the status of information management for community-based research of Rajabhat Universities (3) to explore the need for information for community-based research of Rajabhat Universities according to group of stakeholders and (4) to develop a information management model for community-based research of Rajabhat Universities. This research was a mixed research method. The main source of information consisted of 9,233 projects for community-based research by Rajabhat Universities published from 2015 to 2016. The samples of the stakeholders in the community-based research of Rajabhat Universities consisting of administrators, researchers, and research users were 72 people selected according to specific criteria. There were 12 model experts and stakeholders participating in a model experiment from 8 universities in the Northern Rajabhat University network for 26 people. The research instruments were data record form, semi-structured in-depth interview, and questionnaire. Data analysis for qualitative data used inductive content analysis. The quantitative data was analyzed by the percentage, mean, and standard deviation. The research results were as follows: 1) Every Rajabhat University had community-based research by Suan Sunandha Rajabhat University, Nakhon Pathom Rajabhat University, and Rajabhat Maha Sarakham University had the highest number of research studies in the top three. Most of Rajabhat Universities’ community-based research conditions were participatory research which focused on solving local problems and opened up a space for local people to express their identity. Research content focused on community economy, published in the community forums, and presentations at academic conferences. The utilization of research results was in the criteria for improvement. 2) The condition of information management for community-based research of Rajabhat Universities was found that every Rajabhat University managed research information by having an information system for research management. But there was no clear policy on information management. The collection of research data in a database had different standards. The information was not current and it was found that there was no cooperation among the Rajabhat University networks in the management of formal information. 3) The need for community-based research information of Rajabhat Universities classified by stakeholder group found that the stakeholders had different needs for information in form and content according to the working context. Executives and researchers needed research information in digital media that can be searched from a database. The local community needed information in paper form and conveyed directly by the person. 4) The model of information management for community-based research of Rajabhat Universities was called NET PASS, which consisted of a network of cooperation among Rajabhat Universities nationwide, researchers groups by research area, a group of local experts or local wisdom villagers, community researchers in each locality. In addition, there was a process for managing information for communitybased research, including formulation of policy and research data management plan, organization of storage and retrieval systems, developing information for community-based research warehouse that has been posted according to the standards, providing services and advising on transferring of knowledge to the local. The results of the model evaluation by experts were found to be appropriate. Besides, the experimental results by developing information for community-based research warehouse was found that stakeholders had a high level of satisfaction and can be expanded to be used in information management for community-based research of the Rajabhat University network nationwide.en_US
dc.contributor.coadvisorเจษฎา มิ่งฉายth_TH
dc.contributor.coadvisorทรงพันธ์ เจิมประยงค์th_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167049.pdfเอกสารฉบับเต็ม53.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons