กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10153
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a management model for the memory of Thai universities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัทมาพร เย็นบำรุง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมสรวง พฤติกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุจยา อาภากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาทิตา เอื้อเจริญ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
สถาบันอุดมศึกษา--จดหมายเหตุ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย 2) วิเคราะห์และจำแนกประเภทความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย 3) ศึกษากระบวนการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย และ 4) พัฒนารูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ที่กำหนด จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 8 แห่ง โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 14 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 25 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย นำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทย รับรองร่างรูปแบบโดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และทดลองนำรูปแบบไปใช้กับมหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยไทยที่ศึกษาส่วนใหญ่มีแหล่งจัดการความทรงจำ คือ หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และหอประวัติ โดยมหาวิทยาลัยทุกแห่งไม่มีนโยบายโดยตรงเกี่ยวกับการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2) ประเภทความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทยที่ได้จากการวิเคราะห์ สามารถจำแนกตามขอบเขตของเนื้อหาได้ 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ประวัติและพัฒนาการ เหตุการณ์สำคัญ พิธีการ/กิจกรรม/ประเพณีสำคัญ บุคคลสำคัญ และสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และจำแนกตามรูปลักษณ์ของสื่อบันทึกความทรงจำ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ สื่อกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล และวัสดุของจริง 3) กระบวนการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยที่ศึกษาทุกแห่งใช้หลักวิชาการจัดการเอกสารจดหมายเหตุและการจัดการวัตถุพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดหา การจัดเก็บ การดูแลรักษา และการบริการและเผยแพร่สื่อบันทึกความทรงจำของมหาวิทยาลัย 4) รูปแบบการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยไทยที่พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการประยุกต์ใช้จัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การจำแนกประเภทความทรงจำของมหาวิทยาลัย กระบวนการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัย และปัจจัยสำคัญในการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ อันได้แก่ นโยบาย แหล่งและผู้รับผิดชอบ พื้นที่การทำงาน เทคโนโลยี งบประมาณ และความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผลการนำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่า สามารถประยุกต์ใช้รูปแบบในการจัดการความทรงจำของมหาวิทยาลัยได้ และผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการบริการและเผยแพร่ความทรงจำของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167047.pdfเอกสารฉบับเต็ม38.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons